รายงานการศึกษาค้นคว้า
เรื่อง ประเพณีภาคอีสาน
ของ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5
น.ส.นรินทรา ขันทอง เลขที่ 22
น.ส.วิภาดา พุทธศาสตร์ เลขที่ 27
น.ส.กริษฐา ศิลาเลิศ เลขที่ 33
น.ส.วัลยดี วงศ์กัณหา เลขที่ 29
น.ส.เยาวลักษณ์ อิธิ เลขที่ 36
น.ส.หทัยรัตน์ โพธิ์ศรีรัตน์
เลขที่ 28
ที่ปรึกษา
คุณครูนารีรัตน์ แก้วประชุม
วันที่ 9 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2557
เสนอ
โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร
อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
ตามหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล
ภาคเรียนที่ 1/2557
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้เผื่อเป็นผู้ที่ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ
จะศึกษาเกี่ยวกับ เรื่อง "ประเพณีภาคอีสาน"ซึ่งคณะจัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียน
และผู้สนใจได้อ่านเป็นเอกสารเพิ่มเติม ต่อไป
คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
รายงายฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเกี่ยวกับ
ซึ่งทำให้ทราบถึง เนื้อหาหลักๆ ของประโยชน์ของประเพณีอีสาน
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่ได้วิเคราะห์ให้
ผู้อ่านนำมาใช้ประโยชน์ได้ต่อไป หากมีข้อบกพร่องประการใด
ผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
คณะผู้จัดทำ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5
9 สิงหาคม 2557
กิตติกรรมประกาศ
รายงานฉบับนี้สำเร็จและสมบูรณ์เป็นรูปเล่ม
ด้วยความกรุณาและเอาใจใส่เป็นอย่างดีจาก
คุณครู นารีรัตน์ แก้วประขุม เป็นอย่างยิ่ง คุณครูประจำวิชา
ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษาและแนะแนวทาง
การดำเนินการทำรายงานในครั้งนี้โดยไม่มีข้อบกพร่อง
รวมทั้งข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่างๆ
ตลอดทั้งการตรวจสอบแก้ไขรายงานฉบับนี้ให้สำเร็จสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ทางขณะผู้จัดทำจึงขอขอบพระคุณ
เป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณครูทุกท่านที่ได้ประสิทธ์ประสาทวิชา ความรู้
และประสบการณ์ตลอดจน
อำนวยความสำเร็จให้บังเกิด
สุดท้ายนี้ คุณพ่อ
คุณแม่ ที่เป็นกำลังใจ และให้ความช่วยเหลือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
และให้คำแนะนำในการทำรายงานครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีตลอดมา
คณะผู้จัดทำ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5
9 สิงหาคม 2557
ชื่อเรื่อง ประเพณีภาคอีสาน
ผู้ศึกษา 1. น.ส.นรินทรา ขันทอง
2. น.ส.วิภาดา พุทธศาสตร์
3. น.ส.กริษฐา ศิลาเลิศ
4. น.ส.วัลยดี วงศ์กัณหา
5. น.ส.เยาวลักษณ์ อิธิ
6. น.ส.หทัยรัตน์ โพธิ์ศรีรัตน์
ครูปรึกษา ครูนารีรัตน์ แก้วประชุม
ชื่อวิชา การคึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร ปีการศึกษาที่ศึกษาค้นคว้า 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้า
เรื่อง ประเพณีภาคอีสาน มีวัตถุประสงค์ 1)
เพื่อศึกษาประเพณีภาคอีสาน
2) เพื่อศึกษาประโยชน์ของประเพณีภาคอีสาน 3) เพื่อเผยแพร่ประเพณีภาคอีสาน 4) เพื่ออนุรักษ์ประเพณีภาคอีสาน
ผลการศึกษาค้นคว้า
ปรากฏว่า
1. ประเพณีอีสานมีดังนี้
1.1 เพลงพื้นบ้าน
1.2 ดนตรีพื้นบ้าน
1.3 การละเล่นพื้นเมือง
1.4 การแต่งกายพื้นเมือง
1.5 อาหารประจำภาค
2. ประโยชน์ของประเพณีภาคอีสาน
3. การเผยแพร่ประเพณีภาคอีสาน
3.1 การจัดนิทัศน์การเกี่ยวกับประเพณีภาคอีสาน
3.2
การนำไปเผยแพร่ในชุมชน
3.3 การนำไปเผยแพร่ในสื่อต่างๆ
4. การอนุรักษ์ประเพณีภาคอีสาน
4.1 การทำโครงงานเกี่ยวกับประเพณีภาคอีสาน
4.2 รณรงค์เกี่ยวกับประเพณีภาคอีสาน
5. ผู้กรอกแบบสอบถามเห็นด้วยว่า ประเพณีภาคอีสานมีดีและสามารถทำให้ทุกคนสนุกสนานได้
กล่าวโดยสรุปว่าประเพณีภาคอีสานจึงเหมาะแก่การอนุรักษ์ไว้เพราะมีคุณค่าจริง
ดังนั้น จึงเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
สารบัญ
บทที่ หน้า
1. บทนำ..........................................................................................................................................................1
ความเป็นมาและความสำคัญ...........................................................................................................................1
วัตถุประสงค์...................................................................................................................................................1
สมมุติฐาน.......................................................................................................................................................2
ขอบเขตของปัญหา..........................................................................................................................................2
นิยามศัพท์เฉพาะ.............................................................................................................................................2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ.............................................................................................................................3
2. เอกสารที่เกี่ยวข้อง.......................................................................................................................................4
3. วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า..................................................................................................................45
4. สรุปผลการศึกษาค้นคว้า...........................................................................................................................46
5. อภิปรายและข้อเสนอแนะ.........................................................................................................................48
6. บรรณานุกรม.............................................................................................................................................49
7. ภาคผนวก..................................................................................................................................................50
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคมรับเอาแบบ
ปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิตประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น
วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด
วัดวาอารามต่างๆในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อ
สังคมไทยและชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วย
ศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น
คำว่า ประเพณี
ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า
ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น
ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง
ธรรมเนียม
มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อ
นำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า
ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา
จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป ทั้ง นี้ในเรื่องของภาษาที่ใช้ในภาคอีสานนั้น
อาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ อาทิ ภาษาหลักที่ใช้คือ ภาษาอีสาน ซึ่งถือว่า
เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง แต่ในตัวเมืองใหญ่ ๆ มักนิยมใช้ภาษากลาง ขณะที่บริเวณอีสานใต้นิยมใช้ภาษาเขมรและยังมีภาษาถิ่นอื่นๆเช่นภาษาผูไทภาษาโส้ภาษาไทยโคราชเป็นต้น
เนื่อง ภาคอีสาน เป็นภาคที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น ของอาหารการกิน ดนตรีพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน และศิลปะการฟ้อนรำจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาคอีสานมาฝาก
เนื่อง ภาคอีสาน เป็นภาคที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น ของอาหารการกิน ดนตรีพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน และศิลปะการฟ้อนรำจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาคอีสานมาฝาก
วัตถุประสงค์ของปัญหา
1)เพื่อศึกษาประเพณีภาคอีสาน
2)เพื่อศึกษาประโยชน์ของประเพณีภาคอีสาน
3)เพื่อเผยแพร่ประเพณีภาคอีสาน
4)เพื่อการอนุรักษ์ประเพณีภาคอีสาน
สมมุติฐาน
ประเพณีภาคอีสานมีคุณค่าจริง
ขอบเขตของปัญหา
เนื้อหา
-ประวัติของประเพณีภาคอีสาน
-ประโยชน์ของประเพณีภาคอีสาน
-การเผยแพร่ประเพณีภาคอีสาน
-การอนุรักษ์ประเพณีภาคอีสาน
ระยะเวลา
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
ตัวแปรที่ใช้ในการค้นคว้า
-ตัวแปรต้น คือ
ประเพณี
-ตัวแปรตาม คือ ภาคอีสาน
นิยามศัพท์เฉพาะ
ประเพณี คือ ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน
ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ
ออกได้เป็น
ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง
ธรรมเนียม มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อ
นำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่
ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา
จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
ภาคอีสาน คือ ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช
มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือ และตะวันออกของภาค โดยทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์
และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือ และภาคกลาง ซึ่งเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ
ยอดภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสาน เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี
และแม่น้ำมูลอีสาน มีเนื้อที่ประมาณ 170,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย
ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ กว่า 20 จังหวัด
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ทราบถึงประวัติของประเพณีภาคอีสาน
2.ทราบถึงประโยชน์ของประเพณีภาคอีสาน
3.ทราบถึงการเผยแพร่ประเพณีภาคอีสาน
4.ทราบถึงการอนุรักษ์ประเพณีภาคอีสาน
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เรื่อง ประเพณีภาคอีสาน
มีหัวข้อและรายละเอียดดังนี้
1.ประวัติของประเพณีภาคอีสาน
2.ประโยชน์ของประเพณีภาคอีสาน
3.การเผยแพร่ประเพณีภาคอีสาน
4.การอนุรักษ์ประเพณีภาคอีสาน
1.ประวัติความเป็นมาของประเพณีภาคอีสาน
คำว่า ประเพณี หมายถึง
ขนบธรรมเนียม แบบแผน (พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน, 2493 : 569) - ประเพณี คือ
ความประพฤติที่หมู่ชนหมู่หนึ่งถือเป้นธรรมเนียม หรือเป็นแบบแผนสืบต่อกันมาจนเป็นพิมพ์เดียวกัน
ถ้าใครในหมู่ประพฤตินอกแบบก็เป็นการผิดประเพณี (เสฐียรโกเศศ, 2500/ประเพณีไทย/บทนำ) - ประเพณีเป็นเรื่องของพิธีปฎิบัติสืบๆ มามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขคงไว้บ้างประเพณีไทยแสดงถึงความสัญลักษณ์ของ
ชาติ(แปลก สนธิรักษ์, 2523: 193)
- โดยเนื้อหาสาระแล้ว ประเพณี คือ สิ่งที่คนในสังคมส่วนรวมสร้างขึ้นให้เป็นมรดกที่ผู้เป็นทายาทจะต้องรับไว้
และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป รวมทั้งการเผยแพร่ แก่คนในสังคมอื่นอีกด้วย ประเภทของประเพณี
ประเพณีนั้นเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. จารีตประเพณี (Mores) คือ ประเพณีที่ต้องประพฤติเป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรมและจรรยาของสังคม
ถือกันว่ามีคุณค่าต่อบุคคลในสังคมนั้นๆ ใครฝ่าฝืนหรือเฉยเมยถือว่าเป็นการละเมิดกฎของสังคม
ผิดประเพณีของสังคม ถือเป็นความผิดความชั่วมีโทษ เช่น ประเพณีการแต่งงาน เป็นต้น
2. ขนบประเพณี (Institution) คือ
ประเพณีที่วางเป็นระเบียบไว้ จะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม โดยตรง เช่น เขียนเป็นกฎหรือระเบียบให้กระทำร่วมกันมีข้ออ้างอิงเป็นตัวบทกฏเกณฑ์
โดยอ้อมหรือโดยปริยาย คือ รู้กันเอง ถือสืบๆกันมา คนในถิ่นนั้นปฎิบัติกันอย่างนั้นๆ
เช่น ประเพณีทำบุณเลี้ยงพระของไทย เป็นต้น 3. ธรรมเนียมประเพณี(Convention) คือ เรื่องเกี่ยวกับธรรมดาสามัญของสามัญชน
ไม่ถือเอาผิดเอาถูก ไม่มีการลงโทษ ปรับไหมเหมือนจารีตประเพณี ไม่มีระเบียบเคร่งครัดเหมือนขนบประเพณี
ผู้ทำผิดประเพณีนี้ไม่ถือเป็นเรื่องเสียหายหรือมีโทษมากนัก เพียงแต่ถือว่าผู้ผิดประเพณีเป็นผู้ไร้การศึกษา
ขาดคุณสมบัติผู้ดี เช่น การแต่งกายไม่ถูกกาลเทศะ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน
อันไม่เหมาะสม เป็นต้น 2.ประโยชน์ของประเพณีภาคอีสาน
ประเพณีไทย
เป็นสิ่งที่แสดงความเป็นตัวตนของความเป็นประเทศไทย ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งหลากหลายประเทศทั่วโลกมักจะมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองโดยเฉพาะ
พวกวัฒนธรรมแปลกๆ หรือตำนานต่าง ๆ ที่เป็นการบอกเล่าบอกกล่าวถึงเรื่องพื้นบ้าน
ท้องถิ่นของตัวเอง ประเทศไทย เป็นประเทศที่เปิดเสรีในการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก คนทั่วโลกสามารถมาเที่ยวประเทศไทยได้ทั่วทุกภาค
และสามารถสัมผัสกับประเพณีไทยท้องถิ่น หรือประเพณีไทยที่ทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดี
ไม่ว่าจะเป็น ประเพณีลอยกระทงซึ่งเป็นการขอขมาลาโทษแด่พระคุณของพระแม่คงคา เป็นการรักษาแม่ให้ให้สะอาดให้รู้คุณค่าของน้ำ
หรือจะเป็นประเพณีสงกรานต์ไทย ๆ ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ และนอกจากนี้ยังมีประเพณีที่มากมาย
หลากหลายที่น่าสนใจ น่าหลงไหล รวมถึงแผนที่ ๆ
คุณจะสามารถเดินทางไปร่วมกิจกรรมงานประเพณี วัฒนธรรมต่างๆได้เป็นอย่างดี
3. การเผยแพร่ประเพณีภาคอีสาน
1 .ความเป็นมา
ผลจากการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมตะวันตกและความเจริญทางด้านเทคโนโลยี
ตลอดระยะเวลาเกือบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสังคมไทย
การรับวัฒนธรรมต่างชาติโดยไม่ได้ปรับให้สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต ทำให้วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทยสูญเสียไป
เกิดการรับค่านิยมและแนวการปฏิบัติที่อาจไม่เหมาะสม วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามและหลากหลายในสังคมสูญหายไป
หรืออาจถูกบิดเบือนไปจากหลักการดั้งเดิมที่ดี รวมทั้งอาจถูกละเลยมิได้นำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของชุมชนเท่าที่ควรการรักษาความเสื่อมสลายทางวัฒนธรรมไทยให้กลับคงสภาพเดิม
จึงเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วนสำหรับการคงอยู่ของประเทศชาติ โดยใช้มิติทางวัฒนธรรมเป็น
“แกนนำ” ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศ
คณะทำงานการศึกษา ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะที่มีบทบาทในการส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีของประเทศ และมีบทบาทในการจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายด้านศึกษา
ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม เสนอต่อสภาที่ปรึกษาฯ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี จึงจัดทำโครงการศึกษา
“การอนุรักษ์ เผยแพร่ และใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่น”
ขึ้น โดยการศึกษาจากวัฒนธรรมในเขตวัฒนาเป็นกรณีตัวอย่าง
2. การดำเนินการของสภาที่ปรึกษา
โครงการศึกษาเรื่อง “การอนุรักษ์ เผยแพร่และใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่น”
มีวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการ ประการแรก
เพื่อศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์ เผยแพร่ และการใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมในท้องถิ่น
ประการที่สอง เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ให้คนไทยและบรรดามิตรประเทศได้รู้จักอย่างกว้างขวางและประจักษ์ในคุณค่า
และประการที่สาม เพื่อจัดทำรายงานเพื่อเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะแก่คณะรัฐมนตรีสภาที่ปรึกษาฯ
ได้ดำเนินการหลากหลายวิธีเพื่อรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และรับฟังความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง
โดยการดำเนินการของสภาที่ปรึกษาฯ ในการศึกษาประเด็นนี้ ประกอบด้วยการสำรวจวรรณกรรม
โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร รายงาน บทความวิชาการ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ทั้งที่เป็นข้อมูลของภาครัฐ นักวิชาการ ภาคเอกชน
และองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ เผยแพร่
และใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่นการอภิปราย เรื่อง “การอนุรักษ์
เผยแพร่ และใช้ประโยชน์วัฒนธรรมท้องถิ่น” เมื่อวันที่ 9
เมษายน พ.ศ. 2547 ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เพื่อรณรงค์ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์เผยแพร่ และ ใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่น
แก่ประชาชนทั่วไป อันจะก่อให้เกิดเป็นพลังสืบสานวัฒนธรรมไทย เพื่อพัฒนาชาติสืบไป การสำรวจความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการอนุรักษ์
เผยแพร่ และใช้ประโยชน์วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยออกแบบสอบถามประชาชนทั้งในเขตวัฒนาและนอกเขตวัฒนา
ทุกสาขาอาชีพทั้งจาก หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
นักวิชาการ ผู้สื่อข่าว ประมาณ 500 คน ได้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นนี้
การจัดกิจกรรมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยและนานาชาติจากนักเรียนและประชาชนจากชุมชนต่าง
ๆ ในเขตวัฒนา รวมทั้งการแสดงจากสถานทูตต่าง ๆ จำนวนกว่า 20 ชุด
3.
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอนุรักษ์
เผยแพร่และใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่น 3.1
เจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญด้านวัฒนธรรมจากการศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ
พบว่า รัฐธรรมนูญฯ กล่าวถึง
- หน้าที่ของประชาชนในการพิทักษ์ ปกป้อง
และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น - สิทธิของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ
- หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- บทบาทหน้าที่ของรัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ 3.2 ความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของรัฐในการอนุรักษ์
เผยแพร่และใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่นสภาที่ปรึกษาฯ
มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของรัฐ ดังต่อไปนี้
- ยุทธศาสตร์ในการดำเนินการด้านวัฒนธรรมของรัฐยังขาดความชัดเจนเพียงพอ -
รัฐยังขาดการบูรณาการวัฒนธรรมไทยในการกำหนดนโยบายและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประเทศอย่างเพียงพอ
- รัฐยังไม่ได้ให้การสนับสนุนอย่างเพียงพอ
เพื่อให้เกิดการสืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น
- รัฐยังขาดการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเพียงพอ
- รัฐยังขาดการจัดระบบคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีต
ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ
- รัฐยังมิได้เตรียมประชาชนให้มีความสามารถในการเลือกรับวัฒนธรรม
และประยุกต์วัฒนธรรมต่างชาติให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย -
การดำเนินการด้านวัฒนธรรมของรัฐ
เน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม แต่ขาดการส่งเสริมการพัฒนาวัฒนธรรมไทยให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม
ยุคใหม่ -
การดำเนินการด้านวัฒนธรรมของรัฐ เป็นการดำเนินการในระดับรูปแบบของวัฒนธรรม
แต่มีการถ่ายทอดเนื้อหาหรือหลักการอันดีที่อยู่เบื้องหลังของวัฒนธรรมไม่ เพียงพอ
- การดำเนินการด้านวัฒนธรรมของรัฐเน้นการใช้มาตรการเชิงลบ การบังคับ และการห้ามมากกว่าการจูงใจ
จนกลายเป็นการละเมิดสิทธิทางวัฒนธรรมส่วนบุคคลของประชาชน
4. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการอนุรักษ์ เผยแพร่และใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่น
สภาที่ปรึกษาฯ มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการอนุรักษ์
เผยแพร่และใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
4.1
กำหนดนิยาม ขอบเขต
และเป้าหมายของการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมอย่างชัดเจนวัฒนธรรมมีความหมายและขอบเขตที่กว้างขวางมาก
หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบด้านวัฒนธรรมควรกำหนดนิยาม ขอบเขต และเป้าหมายของการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของรัฐให้ชัดเจน
รวมทั้งมีการจำแนกประเภทและจัดหมวดหมู่วัฒนธรรมอย่างชัดเจน เพราะการจัดการวัฒนธรรมแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน
นอกจากนี้ รัฐควรจัดลำดับของวัฒนธรรมแต่ละประเภท ที่รัฐควรเข้าไปจัดการหรือสนับสนุนในการอนุรักษ์
เผยแพร่ และใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น โดยการกำหนดหลักเกณฑ์การจำแนกและเลือกสรรวัฒนธรรมที่รัฐควรให้การส่งเสริม
และสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรตามหลักเกณฑ์และลำดับดังกล่าวสภาที่ปรึกษาฯ
มีความเห็นว่า รัฐควรเน้นการวิจัยและการรับฟังความเห็นจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมใน
แต่ละท้องถิ่น และแต่ละชาติพันธุ์ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์สำคัญ ๆ
ดังนี้หลักเกณฑ์เพื่อส่งเสริมองค์ประกอบของวัฒนธรรมที่สนับสนุนเป้าหมายการ พัฒนาประเทศ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น และต้องไม่ทำลายความหลากหลายทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
และแต่ละชาติพันธุ์หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมและผลงานด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่มีศักยภาพและไม่มีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนเชิงพาณิชย์ออกจากกัน
เพราะรัฐอาจไม่มีความจำเป็นต้องอุดหนุนด้านการเงินกับกิจกรรมและผลงานด้าน วัฒนธรรมที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์
ซึ่งสามารถเลี้ยงตัวเองได้ แต่รัฐควรให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กิจกรรมและผลงานด้านวัฒนธรรมที่ไม่มี
ศักยภาพในเชิงพาณิชย์หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนองค์ประกอบของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการ
ใช้ประโยชน์ในเชิงสังคม เพื่อที่รัฐจะกำหนดแนวทางการส่งเสริมได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพของแต่ละองค์
ประกอบของแต่ละวัฒนธรรม 4.2 จัดทำระบบข้อมูลพื้นฐานทางวัฒนธรรม
ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานและกิจกรรมด้านวัฒนธรรมในประเทศไทยยังมีอยู่ น้อยมาก
และขาดการจัดระบบ รวมถึงการประชาสัมพันธ์อย่างพอเพียง ซึ่งนับเป็นอุปสรรคต่อการจัดการวัฒนธรรมทั้ง
ในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ดังนั้นรัฐควรมีการศึกษา ประมวล
และรวบรวมฐานข้อมูลและสถิติด้าน ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานอย่างเป็นระบบ
โดยอาจจะจำแนกข้อมูลตามนิยาม ขอบเขต เป้าหมาย และหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้แล้ว เช่น
ค่าใช้จ่ายเชิงวัฒนธรรม การค้าสินค้าเชิงวัฒนธรรม
พฤติกรรมด้านวัฒนธรรมการอ่านหนังสือ การชมรายการโทรทัศน์ การฟังวิทยุ
การเข้าชมการแสดง ชมพิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ แหล่งโบราณสถาน จำนวนและลักษณะของทรัพยากรทางวัฒนธรรมภายในท้องถิ่น
การประเมินมูลค่าของทุนทางวัฒนธรรม นวัตกรรมที่สร้างสรรค์โดยคนในท้องถิ่น จำนวน
ขนาดและประเภทของอุตสาหกรรมวัฒนธรรม การจ้างงานในอุตสาหกรรมวัฒนธรรม เป็นต้นฐานข้อมูลที่ถูกรวบรวมและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ทันสมัย ครบถ้วน ครอบคลุมข้อมูลที่จำเป็นจะส่งผลดียิ่งต่อการนำไปใช้แก้ไขปัญหา
พัฒนา และริเริ่มโครงการทางวัฒนธรรมในลำดับต่อไป ทั้งนี้ อาจเป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่แล้วแต่กระจัดกระจายให้มารวมกันอย่างเป็น
ระบบ หรืออาจเป็นสำรวจข้อมูลใหม่บางส่วนตามความเหมาะสม ในขณะที่รัฐควรจัดให้มีศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลและจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง
โดยกำหนดมาตรฐานกลางในการจัดเก็บข้อมูล และประสานกับหน่วยงานด้านวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละท้องถิ่น
ให้เป็นผู้มีส่วนในการจัดเก็บข้อมูล นอกจากนี้ควรมีการเชื่อมโยงเครือข่ายฐานข้อมูลของแต่ละท้องถิ่น
เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล
4.3 พัฒนาวัฒนธรรมท้องถิ่น ควบคู่ การอนุรักษ์ และการฟื้นฟูความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นและชาติพันธุ์รัฐควรมองการ
อนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมให้กว้างกว่าความพยายามการเก็บรักษา หรือให้ ความสำคัญเฉพาะวัฒนธรรมดั้งเดิมเท่านั้น
แต่วิธีการอนุรักษ์วัฒนธรรมได้ดีที่สุดคือ การพัฒนาวัฒนธรรมดั้งเดิมและสร้างสรรค์วัฒนธรรมใหม่
โดยยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวัฒนธรรมท้องถิ่นและชาติพันธุ์ เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สภาที่ปรึกษาฯ
มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาวัฒนธรรมท้องถิ่น ดังนี้
1) การพัฒนาศักยภาพของวัฒนธรรมท้องถิ่นและชาติพันธุ์รัฐควรสนับสนุนกิจกรรมและผลงานด้านวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่
รวมทั้งดำเนินการพัฒนากิจกรรมและผลงานด้านวัฒนธรรมในท้องถิ่นและชาติพันธุ์ ต่าง ๆ
ให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยการจัดหลักสูตรฝึกอบรม การสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรม
และการสร้างความร่วมมือในการฝึกอบรมผู้ที่ทำงานด้านวัฒนธรรม
2) การพัฒนาสถานภาพของผู้ทำงานเชิงวัฒนธรรมรัฐควรจัดระบบสวัสดิการของผู้สร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรม
เนื่องจากคนกลุ่มนี้มักเป็นผู้ที่ทำงานโดยอิสระ หรือเป็นเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ
ซึ่งมักไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ตัวอย่างของมาตรการพัฒนาสถานภาพของผู้ทำงานเชิงวัฒนธรรม
อาทิ การสำรวจและรวบรวมฐานข้อมูลครูภูมิปัญญา การให้รางวัลแก่ผู้ทำงานด้านวัฒนธรรมดีเด่น
การจัดตั้งสมาคมวิชาชีพของผู้ทำงานด้านวัฒนธรรม การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการของผู้ทำงานด้านวัฒนธรรม
ฯลฯ
3) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาของท้องถิ่น
และวัฒนธรรมประจำแต่ละชาติพันธุ์ รัฐควรส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมเชิงรุก
โดยการจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญา และวัฒนธรรมประจำแต่ละชาติพันธุ์ในแต่ละจังหวัด”
ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม ศึกษาค้นคว้า
สังเคราะห์ข้อมูลประวัติความเป็นมาของสิ่งของ สถานที่ วิถีชีวิต ประเพณี ฯลฯ
ทั้งในอดีตและร่วมสมัยอย่างเป็นระบบ เจาะลึก และบูรณาการประวัติความเป็นมาของพื้นที่ต่าง
ๆ ให้กลายเป็น “ผืนประวัติศาสตร์” เดียว
ที่มีความหลากหลายแต่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยให้เจ้าของวัฒนธรรมได้มีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนา
อันเป็น “จุดเริ่มต้น” ของการอนุรักษ์
การพัฒนา โดยเฉพาะการเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์และสังคมได้หลากหลายด้านอย่างยั่งยืนการจัดตั้งศูนย์นี้ควรได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณส่วนหนึ่งจากภาครัฐ
โดยรัฐกำหนดเกณฑ์การให้เงินสนับสนุนการวิจัย ศูนย์นี้ควรเน้นการดำเนินงานด้านวิชาการและสร้างสรรค์นวัตกรรมได้โดยอิสระ
รวดเร็ว คล่องตัว มีความต่อเนื่อง และเป็นเอกภาพ จึงนับเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมเชิงรุก
ซึ่งเหมาะกับยุคสมัยปัจจุบันที่นวัตกรรมเป็นหัวใจของกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นการนำวัฒนธรรมมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่
ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมได้อย่างยั่งยืนไปในตัว
เพราะวัฒนธรรมที่เรามีอย่างหลากหลายนั้นได้รับการประยุกต์ต่อยอดให้มีพลวัต ร่วมสมัยอยู่ตลอดเวลา
4.4 กระจายอำนาจและบทบาทการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของรัฐ รัฐควรกระจายอำนาจและบทบาทบางส่วนในการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม
ให้แก่หน่วยงานส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน หรือองค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ เป็นผู้ดำเนินการมากขึ้น
เนื่องจากการดำเนินงานโดยหน่วยงานรัฐในบางด้านขาดประสิทธิภาพ ไม่สอดคล้องกับลักษณะทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
และทำให้งานเชิงวัฒนธรรมขาดความน่าสนใจ ประกอบกับการที่รัฐมีงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนางานเชิงวัฒนธรรมของ
ท้องถิ่นทั้งหมดสภาที่ปรึกษาฯ มีความเห็นว่า รัฐควรกระจายอำนาจการดูแลงานบางส่วน
อาทิ พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน หอศิลป์ หอสมุด ฯลฯ ให้จังหวัดและส่วนปกครองท้องถิ่นดูแลมากขึ้น
ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการกระจายอำนาจการปกครองและการคลังให้แก่ส่วนปกครอง ท้องถิ่น
ซึ่งจะทำให้งานเชิงวัฒนธรรมได้รับงบประมาณจากส่วนท้องถิ่นมากขึ้น นอกจากนี้
รัฐยังอาจร่วมลงทุนกับภาคเอกชน หรือเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในกิจการด้านวัฒนธรรมของรัฐ
โดยเฉพาะการให้ภาคเอกชนเข้ามาพัฒนาและบริหารพิพิธภัณฑ์ของรัฐ ซึ่งจะช่วยทำให้พิพิธภัณฑ์มีความน่าสนใจ
และสามารถดึงดูดประชาชนเข้ามาชมได้มากขึ้น อันเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมได้กว้างขวางมากขึ้น
และเพิ่มรายได้ให้แก่งานพิพิธภัณฑ์มากขึ้นนอกจากนี้
รัฐควรเปลี่ยนบทบาทจากผู้ดำเนินการเอง เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินการของภาคเอกชนและประชาชน
(ยกเว้นงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูงมาก) เช่น การสนับสนุนสมาคมของผู้ผลิตสื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ที่เป็นทางการในการเก็บผล
งานเชิงวัฒนธรรมร่วมสมัยที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ภาพยนตร์ ผลงานเพลง และโฆษณา
โดยรัฐออกกฎหมายให้ผู้ผลิตส่งต้นฉบับของผลงานทุกชิ้นไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ ที่จัดตั้งขึ้น
และสนับสนุนงบประมาณบางส่วน เป็นต้น
4.5 การส่งเสริมศักยภาพหน่วยงานด้านวัฒนธรรมของท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การส่งเสริมศักยภาพของสภาวัฒนธรรม เนื่องจากสภาวัฒนธรรมมีความได้เปรียบด้านจำนวนและการครอบคลุมพื้นที่
เพราะกระจายอยู่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสภาวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมอำเภอ
สภาวัฒนธรรมตำบล และสภาวัฒนธรรมในเขตกรุงเทพฯ หากได้รับการส่งเสริมร่วมกับหน่วยงานที่ส่งเสริมด้านวัฒนธรรม
ย่อมสามารถขับเคลื่อนการใช้ศักยภาพทางวัฒนธรรมของชุมชนต่าง ๆ ให้ปรากฏออกมาได้สภาที่ปรึกษาฯ
มีความเห็นว่า
สภาวัฒนธรรมควรได้รับการส่งเสริมบทบาทการดำเนินงานและบริหารจัดการในเรื่องต่าง ๆ
อาทิ 1) การได้รับการอบรมพื้นฐานการทำงานด้านวัฒนธรรม กลุ่มคนทำงานด้านวัฒนธรรมจำเป็นต้องได้รับการอบรมเพื่อให้มีความรู้ความเข้า
ใจและทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการทำงานทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยให้เกิดการตระหนักและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทย
โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ตลอดจนสามารถใช้ฐานความรู้ความเข้าใจดังกล่าวในการต่อยอดความรู้เดิม
และ/หรือถ่ายทอดสู่ ทีมงานรุ่นต่อไป ทั้งยังเอื้อต่อการคิดริเริ่มสร้างสรรค์แผนงานหรือโครงการส่งเสริมพัฒนา
วัฒนธรรมใหม่ ๆ ได้อย่างมีพลวัต สอดคล้องและเท่าทันกับกระแสวัฒนธรรมโลก
2) การสร้างเครือข่ายเพื่อระดมสรรพกำลังต่าง ๆ จากภาคีทุกฝ่าย รัฐควรสนับสนุนให้เกิดการสร้างระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึง
และสามารถสร้างความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนได้อย่างครอบคลุม “ทุกกลุ่ม” อย่างแท้จริง เพื่อให้สามารถระดมสรรพกำลังและทรัพยากรประเภทต่างๆ
ภายใน ท้องถิ่นได้เต็มศักยภาพสูงสุด และเพียงพอต่อการดำเนินโครงการด้านวัฒนธรรมต่าง
ๆ ของท้องถิ่นในระยะยาว
3) การสนับสนุนสื่อเพื่อการเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น รัฐควรสนับสนุนให้มีสื่อด้านวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
โดยใช้สื่อของรัฐ และจัดสรรช่องทางและเวทีในการเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การจัดงานแสดงวัฒนธรรม
การจัดสรรคลื่นหรือพื้นที่สื่อฯ หอศิลป์ ห้องแสดงงานทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรมสัญจร นิทรรศการสัญจรทางวัฒนธรรม เพื่อให้งานทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมีพื้นที่ในการเผยแพร่มากขึ้น 4) การได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ
โดยรัฐควรกำหนดสัดส่วนงบประมาณสนับสนุนสภาวัฒนธรรมอย่างชัดเจนและเพียงพอต่อ การดำเนินงาน
ทั้งนี้รัฐหรือส่วนการปกครองท้องถิ่น อาจจะจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยจัดเก็บรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้นจากภาคธุรกิจมาสนับสนุนงานของสภาวัฒนธรรม
5)
การมอบหมายบทบาทในการฝึกอบรมและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถทางการคิดและ
การเรียนรู้ของประชาชน รัฐควรส่งเสริมให้สภาวัฒนธรรมทำหน้าที่จัดฝึกอบรมประชาชนทั่วไป
ตลอดจนประสานงานกับโรงเรียนในการทำหลักสูตรการคิดอย่างมีเหตุผลในการเลือก รับวัฒนธรรมต่าง
ๆ และการจัดส่งเจ้าหน้าที่ของทางสภาวัฒนธรรมฯ ไปเป็นวิทยากรให้ความรู้อบรมแก่นักเรียนและประชาชนทั่วไป
ส่วนการพัฒนาโดยอ้อม ควรให้ทุก ๆ กิจกรรมทางวัฒนธรรมที่จัดขึ้น มีการสอดแทรกเนื้อหาสาระในส่วนที่กระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้ประชาชน
ประยุกต์ใช้วัฒนธรรมไทยเข้ากับบริบทสังคมร่วมสมัยได้อย่างเหมาะสม
4.6 ส่งเสริม “สิทธิทางวัฒนธรรม”
“ความหลากหลายทางวัฒนธรรม” และ “การมีส่วนร่วม” ของประชาชนรัฐบาลต้องตระหนักถึงสิทธิทางวัฒนธรรมของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น
และชาติพันธุ์ในการที่จะคุ้มครอง ปกป้องและดำเนินการตามจารีตประเพณีของตัวเองตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
รวมถึงการตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมที่ประกอบด้วยคนหลายชนเผ่าหลายชาติพันธุ์
การก่อเกิดและการพัฒนาทางวัฒนธรรม จึงมีความหลากหลายและแตกต่างตามที่มาแห่งความเชื่อ
ศาสนา และภูมิหลังของแต่ละวัฒนธรรมนั้น ๆ จะทำให้การพัฒนาด้านวัฒนธรรมตรงจุดมากยิ่งขึ้น
โดยการส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสาน และใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน
โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้
1) จัดเวทีวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น เพื่อสร้างโอกาสของประชาชนในการเผยแพร่วัฒนธรรมในท้องถิ่นของตน
และสร้างช่องทางในการเข้าถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย ไม่เพียงแต่ประชาชนกลุ่มใหญ่ในท้องถิ่นเท่านั้น
แต่รวมถึงประชาชนคนกลุ่มน้อย และกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเองด้วย
ที่ควรได้รับการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมชุมชน อันจะก่อให้เกิดความงอกงามและการผสมผสานทางวัฒนธรรมของประชาชนกลุ่มต่าง
ๆ
2) จัดตั้งโครงการความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยให้นักเรียน
นักศึกษา ประชาชน สามารถสมัครเข้าไปในโครงการเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เพื่อสร้างความคิดที่เคารพต่อวัฒนธรรมที่ต่างออกไปจากตนเละยอมรับความแตก ต่างที่สามารถอยู่ร่วมกันได้
3) ใช้มาตรการจูงใจไม่ใช่การบังคับ
ภาครัฐจำเป็นต้องตระหนักถึงสิทธิทางวัฒนธรรมของประชาชน โดยไม่ออกกฎหรือข้อบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม
หากกฎหรือข้อบังคับนั้นได้ละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลตามบทบัญญัติแห่งรัฐ ธรรมนูญ
รัฐควรเปลี่ยนเป็นการรณรงค์ การจูงใจ และการขอความร่วมมือ ซึ่งเป็นแนวทางที่เหมาะสมมากกว่า
4) กำหนดวัน “วัฒนธรรม” แต่ละจังหวัด และวันวัฒนธรรมแต่ละ “ชาติพันธุ์”
กระทรวง วัฒนธรรมอาจกำหนดให้วันใดวันหนึ่งเป็นวันวัฒนธรรมแห่งชาติ หรือเปิดโอกาสให้แต่ละจังหวัดกำหนดวันวัฒนธรรมประจำจังหวัด
และวันวัฒนธรรมประจำชาติพันธุ์ของตนขึ้นเอง เช่น กรุงเทพมหานครอาจกำหนดวัน
“วัฒนธรรมกรุงเทพฯ” ชาวไทลื้อมีวัน “วัฒนธรรมชาวไทลื้อ” ขึ้น โดยให้สถานศึกษาทุกแห่งและหน่วยงานราชการของกรุงเทพมหานคร
สภาวัฒนธรรมของทุกเขต ร่วมกับภาคธุรกิจ องค์กรทางศาสนา ประชาคมด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีในเขต
ร่วมจัดงานวันหรือสัปดาห์วัฒนธรรมขึ้น มีกิจกรรมการจัดประกวดประดิษฐ์สร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม
ภูมิปัญญาใหม่ ๆ การแสดงวัฒนธรรมหรือสิ่งดีในแต่ละเขต เช่น อาหาร ผลงานจากวิชาชีพ การแสดงต่าง
ๆ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนในจังหวัดต่าง ๆ เกิดความกระตือรือร้นในการอนุรักษ์
สืบสานและใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนอย่างต่อเนื่อง 5)
กำหนดมาตรการจูงใจให้บริจาคเพื่อการส่งเสริมวัฒนธรรม รัฐควรใช้มาตรการทางภาษี
เพื่อ จูงใจให้ภาคเอกชนและประชาชนบริจาคเพื่องานด้านวัฒนธรรมมากขึ้น
เช่น การยกเว้นภาษีสำหรับเงินบริจาค การนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ การงดเว้นการเก็บภาษีมรดกหากนำมรดกส่วนหนึ่งไปบริจาคสำหรับงานด้านวัฒนธรรม
เป็นต้น รวมทั้งการสนับสนุนหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไรหรือมูลนิธิต่างๆ เข้ามามีส่วนในการระดมทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้น
6) การคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม
หรือการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมของแต่ละชาติพันธุ์และผลงานทางวัฒนธรรมตาม กฎหมายลิขสิทธิ์
รวมทั้งการจัดระบบคุ้มครองสิทธิในผลงานการสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมประเภทต่าง ๆ เช่น
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมและวัฒนธรรมประจำแต่ละชาติพันธุ์
เป็นต้น ซึ่งควรเป็นระบบที่มีต้นทุนในการจดทะเบียนต่ำ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถรับการคุ้มครองได้อย่างทั่วถึง
4.7 ส่งเสริมการลงทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นทุนทางสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันการอนุรักษ์
เผยแพร่ และใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ควรละเลยมิติทางด้านเศรษฐกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
เนื่องจากปัจจัยหนึ่งที่ทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมสามารถธำรงอยู่ได้ คือ ความสามารถในการสร้างผลตอบแทนเชิงเพาณิชย์
ดังนั้นหากรัฐสามารถทำให้ผู้ที่ทำหน้าที่อนุรักษ์ เผยแพร่ และใช้ประโยชน์จากมรดกทางวัฒนธรรม
ได้รับผลตอบแทนที่เพียงพอแล้ว จะทำให้งานด้านวัฒนธรรมสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้รัฐควรให้ความสำคัญกับการลงทุนทางวัฒนธรรม
โดยมีแนวทางสำคัญ ๆ ดังนี้ 1) สร้างศูนย์วัฒนธรรมร่วมสมัยครบวงจรแห่งเอเชีย รัฐควรมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานด้านวัฒนธรรม โดยการสร้าง “ศูนย์วัฒนธรรมร่วมสมัยครบวงจรแห่งเอเชีย”
หรือศูนย์กลาง “การค้าและการเรียนรู้แห่งเอเชียเพื่อเป็นศูนย์สำหรับการแสดงเผยแพร่
และเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของไทยและต่างประเทศ เพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับประเทศจากการท่องเที่ยว
ทำให้คนที่ทำงานด้านวัฒนธรรมมีรายได้สูงขึ้น และเป็นแหล่งในการปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมต่าง
ๆ เพื่อเรียนรู้ต่อยอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันและกัน และเพื่อสร้างประเทศไทยให้เป็นผู้นำด้านสังคมแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ต่อไป 2)
ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมวัฒนธรรม รัฐควรกำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมวัฒนธรรม
หรืออุตสาหกรรมอื่นที่ใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นทุนในการผลิตและบริการ เช่น
อุตสาหกรรมพิพิธภัณฑ์ โรงละคร โรงภาพยนตร์ หอศิลป์ รวมทั้งอุตสาหกรรมอัญมณี
อุตสาหกรรมแฟชั่น และสื่อสารมวลชนที่มีการนำวัฒนธรรมไทยมาประยุกต์หรือต่อยอด
เป็นต้น แต่ควรระมัดระวังสิ่งที่จะก่อให้เกิดความเสียหายความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนทาง
วัฒนธรรม ดังนั้นควรมีการตรวจสอบจากเจ้าของวัฒนธรรมหรือผู้เชี่ยวชาญอย่างเข้มงวด
3) จัดตั้งกองทุนสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมสาขาต่าง ๆ รัฐควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมสาขา
ต่าง ๆ เช่น กองทุนส่งเสริมจิตรกรรม กองทุนส่งเสริมสิ่งประดิษฐ์ท้องถิ่น กองทุนสนับสนุนการผลิตและการแปลหนังสือ
กองทุนภาพยนตร์ กองทุนวัฒนธรรมประจำชาติพันธุ์ เป็นต้น
4.8 สร้างการเห็นคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นการที่วัฒนธรรมท้องถิ่นจำนวนมากเสื่อมสลายไป
เนื่องจากประชาชนในท้องถิ่นไม่เห็นคุณค่าวัฒนธรรมดังกล่าว ดังนั้นรัฐควรให้ความสำคัญในการทำให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าวัฒนธรรมของ
ท้องถิ่น โดยมีแนวทาง ดังนี้
1)
ส่งเสริมวัฒนธรรมศึกษา โดยการสอดแทรกเนื้อหาและกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมลงในหลักสูตรการเรียนการสอน
และให้สถานศึกษาในแต่ละชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรม
เช่น การนำครูภูมิปัญญามาให้ความรู้กับนักเรียน การนำผลงานของศิลปินไปแสดงในสถานศึกษา
การสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้กับนักเรียน และการจัดแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่น 2) สนับสนุนสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมโดยการจัดซื้อภาครัฐ
รัฐควรส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐที่จำเป็นต้องจัดซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการจัดซื้อสินค้าและบริการด้านวัฒนธรรมจากท้องถิ่นมากขึ้น
เพื่อเป็นการสนับสนุนผลงานด้านวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่าง ๆ และส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีอิสระในการใช้ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
เช่น การแต่งกาย ผ้าทอ และอื่นๆ ตามความแต่ละวัฒนธรรมท้องถิ่น
3) การผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรม โดยการสนับสนุนเงินทุนให้กับภาคเอกชนเพื่อจัดทำสื่อที่มีคุณภาพสำหรับการเผย
แพร่วัฒนธรรม โดยมีหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนอย่างชัดเจนและพิจารณาเป็นรายโครงการ และใช้สื่อที่หลากหลายในการเผยแพร่วัฒนธรรม
เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ภาพยนตร์ ดนตรี ละคร เป็นต้น ทั้งนี้แหล่งที่มาของเงินทุนดังกล่าวควรมาจากการจัดเก็บภาษีรายได้ของสื่อ
อื่น ๆ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาหรือส่งเสริมวัฒนธรรม
4.9 สร้างวัฒนธรรมที่ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่ดี
4. การอนุรักษ์ประเพณีภาคอีสาน
ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียม
มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อ นำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่
ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา
จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
ชื่อประเพณี : ฮีตสิบสอง
จังหวัด : กาฬสินธุ์
ประเพณีท้องถิ่นกาฬสินธุ์ ยังยึดถือ และปฏิบัติตามฮีตสิบสอง คำว่า
"ฮีต" หมายถึง จารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี แบบแผนฮีตที่ถือปฏิบัติกันอยู่
๑๒ อย่าง ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า "บุญ" ดังนี้
๑. บุญข้าวกรร
เกี่ยวกับพระภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมจึงจะพ้นอาบัติ
ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ในระหว่างภิกษุเข้ากรรม ญาติ โยม สาธุชน ผู้หวังบุญกุศล
จะไปร่วมทำบุญบริจาคทาน รักษาศีลเจริญภาวนา และฟังธรรม
เป็นการร่วมทำบุญระหว่างพระภิกษุ สามเณร และชาวบ้านกำหนดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนอ้าย"
๒. บุญคูนลาน
การทำบุญคูนลาน จะทำที่วัด หรือที่บ้านก็ได้ โดยชาวบ้านจะเอาข้าวมารวมกัน
แล้วนิมนต์พระภิกษุมาเจริญพระพุทธมนต์ จัดน้ำอบ น้ำหอมไว้ประพรม
วนด้ายสายสิญจน์บริเวณรอบกองข้าว ตอนเช้ามีการถวายอาหารบิณฑบาต และนำเอาน้ำพระพุทธมนต์ไปรดกองข้าว
ถ้าทำที่บ้านเรียกว่า "บุญกุ้มข้าว" กำหนดในเดือนยี่ เรียกอย่างหนึ่งว่า
"บุญเดือนยี่
๓. บุญข้าวจี่
เดือนสามชาวบ้านนิยมทำบุญข้าวจี่
เพื่อถวายพระ เป็นการละทานชนิดหนึ่ง และถือว่าได้รับอานิสงส์มากงานหนึ่ง
กำหนดทำบุญในเดือนสาม ๔.
บุญพระเวส
บุญที่มีการเทศพระเวส หรือบุญมหาชาติ
หนังสือมหาชาติเป็นหนังสือชาดกที่แสดงจริยวัตรของพระพุทธเจ้า
เมื่อเสวยชาติเป็นพระเวสสันดร กำหนดทำบุญเดือนสี่ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
"บุญเดือนสี่"
๕. บุญสรงน้ำ
บุญสรงน้ำ มีการรดน้ำ หรือสรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ และผู้หลักผู้ใหญ่
มีการทำบุญทำทาน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญตรุษสงกรานต์"
กำหนดทำบุญในเดือน ห้า
๖. บุญบั้งไฟ
ก่อนการทำนาชาวบ้านในจังหวัดในภาคอิสาน
จะมีการฉลองอย่างสนุกสนาน โดยการจุดบั้งไฟ เพื่อไปบอกพญาแถน
เชื่อว่าจะทำให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล มีการตกแต่งบั้งไฟให้สวยงามนำมาประกวดแห่
แข่งขันกันในวันรุ่งขึ้น กำหนดทำบุญในเดือน หก
๗. บุญซำฮะ
ซำฮะ คือการชำระล้างสิ่งสกปรก รกรุงรังให้สะอาดหมดจด เมื่อถึงเดือน ๗
ชาวบ้านจะรวมกันทำบุญโดยยึดเอา "ผาม หรือศาลากลางบ้าน" เป็นสถานที่ทำบุญ
ชาวบ้านจะเตรียมดอกไม้ธูปเทียน โอน้ำ ฝ้ายใน ไหมหลอด ฝ้ายผูกแขน
แห่ทรายมารวมกันที่ ผามหรือศาลากลางบ้าน ตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
ตอนเช้าถวายอาหาร เมื่อเสร็จพิธีทุกคนจะนำน้ำพระพุทธมนต์ ฝ้ายผูกแขน
แห่ทรายของตนกลับบ้าน นำน้ำมนต์ไปรดลูกหลาน ทรายนำไปหว่านรอบบ้าน
ฝ้ายผูกแขนนำไปผุกข้อมือลูกหลานเพื่อให้เกิดสวัสดิมงคลตลอดปี
ถ้ามีการเจ็บไข้ได้ป่วยต้องมีการสวดถอด เป็นต้น กำหนด ทำบุญในเดือน ๗
๘. บุญเข้าพรรษา
ในเทศกาลเข้าพรรษา เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล
สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ ส่วนคฤหัสถ์ก็จะต้องบำเพ็ญบุญกริยาวัตถุ ๓ คือ ทาน ศีล
ภาวนา ให้เต็มเปี่ยม ตอนเช้าญาติโยมจะนำอาหารมาถวายพระภิกษุ
ตอนบ่ายนำดอกไม้ธูปเทียน ข้าวสาร ผ้าอาบน้ำฝน รวมกันที่ศาลาวัด ตอนเย็นญาติโยมพากันทำวัตรเย็นแล้วฟังเทศน์
กำหนด วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือน ๘"
๙.
บุญข้าวประดับดิน
ห่ออาหาร และของขบเคี้ยวเป็นห่อๆ แล้วนำไปถวายวางแบไว้กับดิน จึงเรียกว่า
"บุญข้าวประดับดิน" ชาวบ้านจะจัดอาหารคาว หวาน และหมากพลู บุหรี่ กะว่าให้ได้
๔ ส่วน
ส่วนที่ ๑ เลี้ยงดูกันในครอบครัว
ส่วนที่ ๒ แจกให้ญาติพี่น้อง
ส่วนที่ ๓ อุทิศไปให้ญาติที่ตาย
ส่วนที่ ๔ นำไปถวายพระสงฆ์
ทำเป็นห่อๆให้ได้พอควร โดยนำใบตองกล้วย มาห่อของคาว หวาน หมากพลู บุหรี่
แล้วเย็บรวมกันเป็นห่อใหญ่ ในระหว่าง
เช้ามืดในวันรุ่งขึ้นจะนำห่อเหล่านี้ไปวางไว้บริเวณวัด
ด้วยถือว่าญาติพี่น้องจะมารับของที่นั่น (เชื่อกันว่าเป็นวันยมทูตเปิดนรกชั่วคราว
ให้สัตว์นรก มารับของทานในระยะหนึ่ง และยังถือว่าเป็นวันกตัญญูอีกด้วย)
ตอนเช้านำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปถวายพระ ฟังพระธรรมเทศนา
เสร็จแล้วทำพิธีอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว กำหนดทำบุญในเดือน ๙
๑๐. บุญข้าวสาก
การเขียนชื่อลงในพาข้าว (สำรับกับข้าว) เรียกว่าข้าวสาก (สลาก)
ญาติโยมจะจัดอาหารเป็นห่อๆ แล้วนำไปแขวนไว้ตามต้นไม้ โดยทำกันในตอนกลางวัน ก่อนเพล
เป็นอาหาร คาว หวาน พอถึงเวลา ๔ โมงเช้า พระสงฆ์จะตีกลองโฮม (รวม)
ญาติโยมจะนำพาข้าว (สำรับกับข้าว) ของตนมารวมกัน ณ ศาลาการเปรียญ
เจ้าภาพจะเขียนชื่อลงในกระดาษม้วนลงในบาตร
เมื่อพร้อมแล้วหัวหน้ากล่าวนำคำถวายสลากภัต จบแล้วยกบาตรสลากไปให้พระจับ
ถูกชื่อใคร ก็ให้ไปถวายพระองค์นั้น ก่อนจะถวายพาข้าวให้นำพาข้าว ๑ พา
มาวางหน้าพระเถระ แล้วให้พระเถระ กล่าวคำอุปโลกน์ กำหนด
บุญข้าวสากนิยมทำกันในเดือน ๑๐
๑๑. บุญออกพรรษา
การทำบุญออกพรรษานี้
เป็นการเปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ได้มีโอกาสว่ากล่าวตักเตือนกันได้
พระภิกษุสงฆ์สามารถเดินทางไปอบรมศีลธรรม หรือไปเยี่ยม ถามข่าวคราว ญาติพี่น้องได้
และภิกษุสงฆ์สามารถหาผ้ามาผลัดเปลี่ยนได้ เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
ตั้งแต่เช้ามืดจะมีการตีระฆังให้พระสงฆ์ไปรวมกันที่โบสถ์แสดงอาบัติเช้า
จบแล้วมีการปวารณา คือเปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้
กำหนด บุญออกพรรษาในเดือน ๑๑
๑๒. บุญกฐิน
ผ้าที่ใช้สดึงทำเป็นกรอบขึงเย็บจีวร เรียกว่าผ้ากฐิน ผู้ใดศรัทธา
ปรารถนาจะถวายผ้ากฐิน ณ วัดใดวัดหนึ่งให้เขียนสลาก (ใบจอง) ไปติดไว้ที่ผนังโบสถ์
หรือศาลาวัด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ผู้อื่นจองทับ เมื่อถึงวันกำหนดก็บอกญาติโยมให้มาร่วมทำบุญ
มีมหรสพสมโภช และฟังเทศน์ รุ่งเช้าก็นำผ้ากฐินไปทอดถวายที่วัดเป็นอันเสร็จพิธี
กำหนด ทำบุญระหว่างวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
ชื่อประเพณี : งานเทศกาลไหม และประเพณีผูกเสี่ยว
จังหวัด : ขอนแก่น
ช่วงเวลา : วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน-๑๐ ธันวาคม ของทุกปี
ความสำคัญ
งานเทศกาลไหมเป็นงานที่จังหวัดขอนแก่นได้จัดขึ้นทุกปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.
๒๕๒๒ จนถึงปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพการทอผ้าไหม
มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์และจำหน่ายสินค้าพื้น เมือง (ผ้าไหม)
และของที่ระลึกอื่น ๆ
นอกจากนี้ยังมีการแสดงเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นประเพณีผูกเสี่ยว
ก็เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นพร้อมกันกับงานเทศกาลไหม โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อให้คนในท้องถิ่นและคนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียว สมัครสมานสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันคำว่า
"เสี่ยว" เป็นภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย
มีความผูกพัน ซื่อสัตย์ และจริงใจต่อกัน
พิธีกรรม
อุปกรณ์ที่สำคัญมีพานบายศรีอาจเป็นบายศรี ๓ ชั้น
๕ ชั้น หรือ ๗ ชั้น และมีเครื่องประกอบอีกหลายอย่าง คือ สุรา ๑ ขวด ไข่ไก่ต้ม ๑
ฟอง ข้าวต้มมัด ๔ ห่อ กล้วยสุก ๔ ผล ข้าวเหนียวนึ่ง ๑ ปั้น ใบพืชที่เป็นมงคล เช่น
ใบคูน ใบเงิน ใบทอง ใบยอ ดอกรัก และที่ขาดไม่ได้คือ ฝ้ายผูกแขนเชิญ แขกมงคลมาร่วมพิธี
คู่เสี่ยวนั่งล้อมพานบายศรี หมอพราหมณ์เริ่มพิธีด้วยการจุดเทียนที่พานบายศรี อัญเชิญเทวดาลงมาเป็นสักขีพยาน
กล่าวถึงงานบายศรีสู่ขวัญเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส มีบุตรใหม่
ขึ้นบ้านใหม่ การเลื่อนยศ การผูกเสี่ยว การบวชนาค ฯลฯ
แล้วกล่าวคำอัญเชิญขวัญตามโอกาส เมื่อถึงบทเชิญขวัญผู้ร่วมพิธีจะตะโกนเรียกขวัญของผู้ร่วมพิธีให้มาอยู่กับ
เนื้อกับตัว จบแล้วหมอพราหมณ์และแขกจะนำด้วยมงคลผูกข้อมือของคู่ขวัญ พร้อมทั้งให้ศีลให้พร
ให้รักใคร่สามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ต่อจากนั้นคู่ขวัญก็จะผูกข้อมือซึ่งกันและกัน
เป็นอันเสร็จพิธี
สาระ
เรียกขวัญเพื่อเป็นการเตือนสติให้รู้จักภาวะของตนเอง
เช่น จะแต่งงาน บวช หรือเสี่ยว จะต้องปฏิบัติอย่างไร เชื่อกันว่า
ขวัญสิงสถิตอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและจิตใจ
เมื่อทำพิธีเรียกขวัญแล้วก็จะเกิดพลังกายและพลังใจที่เข้มแข็งได้
ชื่อประเพณี : ประเพณีไหลเรือไฟ
จังหวัด :
นครพนม
ช่วงเวลา : วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ (ประมาณเดือนตุลาคม)
ความสำคัญ
เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที
ในแคว้นทักษิณาบทประเทศอินเดีย เพื่อบูชาท้าวผกาพรหม
เพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่เราทำให้สกปรก
เพื่อเอาไฟเผาความทุกข์ให้หมดไปแล้วลอยไปกับแม่น้ำ
พิธีกรรม
นำเรือไปลอยในแม่น้ำ ก่อนลอยให้กล่าวคำบูชาดังนี้
“ อะ หัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชิง อภิปูเชนิ
อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ที่ฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ
สังวัตคะตุ"
แปลว่า “ ข้าพเจ้า ขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระมุนีเจ้าอันประดิษฐานอยู่
ณ หาดทรายแห่งแม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้
ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้าด้วยประทีป
ในครั้งนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ”
สาระ
เปรียบเทียบให้เห็นชีวิตมนุษย์ มีเกิด มีเจริญก้าวหน้า
และดับไปในที่สุดหรือ ชีวิตมนุษย์เป็นอนิจจัง
ชื่อประเพณี :
งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี
จังหวัด : นครราชสีมา
ช่วงเวลา :
ระหว่างวันที่ ๒๓ มีนาคม - ๓ เมษายน ของทุกปี
ความสำคัญ
เป็นงานประจำปีของจังหวัดซึ่งเริ่มขึ้นในวันที่ ๒๓ มีนาคมของทุกปี
ซึ่งถือเป็นเวลาที่ ท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) ได้รับชัยชนะจากข้าศึก เพราะวันที่ ๒๓
มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๖๙ คือวันที่เจ้าอนุวงศ์ยกทัพออกจากเมืองนครราชสีมา
จึงเป็นงานประเพณีทำให้ระลึกถึงความกล้าหาญในวีรกรรมครั้งนั้น
นอกจากนี้ในงานยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรม การออกร้าน
จัดนิทรรศการของหน่วยราชการและภาคเอกชน
รวมทั้งกิจกรรมบันเทิงที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน
พิธีกรรม
พิธีกรรมที่จัดขึ้นในงามที่จัดขึ้นในงานของท้าวสุรนารี
เริ่มต้นครั้งแรกใน ปี พุทธศักราช ๒๔๗๗ มีการบวงสรวงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
พิธีจุดพลุสี่มุมเมือง
นอกจากนี้ในอดีตเคยมีการจัดการแสดงละครเรื่องวีรกรรมท้าวสุรนารี
ให้เป็นกิจกรรมหลักของงานเพื่อให้ผู้ร่วมงานระลึกถึงความกล้าหาญในวีรกรรม
ครั้งนั้น
สาระ
กิจกรรมนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พลเมือง
เป็นแบบอย่างให้กับพลเมืองได้ตระหนักถึงบุคคลที่ถูกยกย่องให้เป็นปูชนีย บุคคล
ชื่อประเพณี :
บุญข้าวสาก (บุญเดือนสิบ)
จังหวัด :
ยโสธร
ช่วงเวลา :
เดือนตุลาคม (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐)
ความสำคัญ
ประเพณีบุญข้าวสาก
เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต
พิธีกรรม
ประกอบด้วย
1. วันเตรียมข้าวสาก วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ข้าวสาก
(ภาษากลางเรียกข้าวกระยาสารท) คือการเอาข้าวเม่าพอง คลุกกับข้าวตอกแตก
แล้วใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่ว งา แล้วคลุกเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม
ขนม อาหารคาวหวาน หมาก พลู และบุหรี่ไว้ทำทาน
2. ในตอนเช้าของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
ชาวบ้านจะนำอาหารไปตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
หลังจากพระสงฆ์ฉันจังหันเสร็จแล้วมีการฟังเทศน์
3. พอถึงตอนเพลจะเป็นพิธีแจกข้าวสาก ข้าวสากที่จะนำไปแจกนั้น
จะห่อด้วยใบตองกล้วยกลัดหัวกลัดท้ายมีรูปคล้ายกลีบข้าวต้มแต่ไม่พับส้นตอง
เย็บติดกันเป็นคู่ๆ ของที่ใส่ในห่อได้แก่ ข้าวต้ม ข้าวสาก ปลา เนื้อ หมาก พลู
และบุหรี่ พิธีแจกก็เอาห้อยไว้ตามต้นไม้หรือตามรั้ว
พอเสร็จหมดก็ตีกลองหรือโปงให้สัญญาณบอกเปรตมารับเอา หลังจากนั้นก็แย่งกันเก็บคืน
มือใครยาวสาวได้สาวเอา ซึ่งตอนนี้เรียกว่า "แย่งเปรต" ภาษาอีสานเรียกว่า
"ยาดข้าวสาก" เก็บมาแล้วเอาไปใส่ตามไร่นา ตามตาแฮก
เพื่อให้ข้าวในนาอุดมสมบูรณ์
สาระ
เป็นประเพณีการทำบุญที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต
ชื่อประเพณี :
ประเพณีบุญข้าวประดับดิน (บุญเดือนเก้า)
จังหวัด :
ยโสธร
ช่วงเวลา :
เดือนกันยายน (วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙)
ความสำคัญ
ประเพณีบุญข้าวประดับดิน
เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต
พิธีกรรม
ประกอบด้วย
1. วันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๙ ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน
หมาก พลู และบุหรี่ไว้
2. วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙
ชาวบ้านจะไปวัดตั้งแต่เวลาตี ๔ นำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทงหรือเย็บเป็นห่อเหมือนข้าวสาก
แล้ววางแจกตามบริเวณวัด โดยวางไว้กับพื้นดิน หรือบางคนก็ฝังดิน
3. ชาวบ้านกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารทำบุญที่วัดอีกทีหนึ่ง
เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน
สาระ
โบราณท่านเขียนไว้ในหนังสือฉลอง ความว่า
"ครั้งที่มหาโมคคัลลานะแทรกแผ่นดินลงไปเยือนนรก
ซึ่งเขากำลังเสวยกรรมอยู่ในแดนต่างๆ พอท่านไปถึงก็บันดาลให้ไฟนรกดับ
สัตว์นรกก็ไม่ได้เสวยกรรม
พอท่านจะกลับมายังโลกมนุษย์พวกสัตว์นรกได้สั่งท่านให้มาบอกญาติพี่น้องทาง
โลกได้ทราบ และทำทานอุทิศส่วนกุศลไปให้บ้าง
เมื่อพระโมคคัลลาน์กลับมาถึงชมพูทวีปก็ประกาศข่าวนี้ให้ประชาชนทราบ
ซึ่งวันนั้นตรงกับวันดับเดือนเก้า (วันแรม ๑๕
ค่ำ)จึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันทำบุญข้าวประดับดิน" สาเหตุ ที่ต้องทำพิธีตั้งแต่เช้ามืดเพราะเชื่อว่าพญายมราชปล่อยผีเปรตให้มีเวลาอยู่
บนโลกมนุษย์เพียง ๒ ชั่วโมง จากตี ๔ ถึง ๖ โมงเช้า และที่ต้องวางเครื่องไทยทานไว้กับพื้นดินนั้นเพื่อให้เปรตรับเอาง่ายๆ
โดยไม่ต้องมีพิธีรีตอง เดี่ยวจะกลับไม่ทันเวลา
ชื่อประเพณี : แห่ปราสาทผึ้ง
จังหวัด :
สกลนคร
ช่วงเวลา :
เทศกาลวันออกพรรษา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
ความสำคัญ
งานแห่ปราสาทผึ้งในเทศกาลออกพรรษาของชาวอีสาน
แม้ว่าจะมีอยู่ทั่วไปในหลายจังหวัด
แต่ก็ไม่จัดใหญ่โตและปฏิบัติต่อเนื่องเช่นของเมืองสกลนคร
การพัฒนารูปแบบปราสาททรงโบราณเป็นทรงตะลุ่ม
ทรงหอผึ้งแบบโบราณยังไม่พัฒนาเป็นรูปทรงปราสาทผึ้งดังกล่าวย่อมเกิดแง่คิดใน หลายประเด็น
โดยเฉพาะในด้านรูปแบบและเนื้อหา
ว่ามีการอนุรักษ์ประยุกต์ดัดแปลงหรือสร้างใหม่อย่างไร ประเด็นดังกล่าวไม่ควรข้ามไป
เพื่อความเข้าใจจึงขอนำเรื่องราวของปราสาทผึ้งมารื้อฟื้นให้ทบทวนกันโดยสรุป ย่อ
ดังนี้
1. ยุคต้นผึ้ง - หอผึ้ง
ชาวอีสานในบางท้องถิ่นที่เชื่อกันว่า การทำต้นผึ้ง ดอกผึ้ง
ทำเพื่อเป็นพุทธบูชาให้กุศลแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้นเมื่อมีญาติพี่น้อง
เพื่อนฝูงในหมู่บ้านถึงแก่วายชนม์ลงจึงพากันไปช่วยงานศพ (งานเฮือนดี)
เท่าที่จะช่วยงานได้ ดังมีคำกล่าวว่า"ผู้หญิง
ห่อข้าวต้ม ตัดตอก บีบข้าวปุ้น ผู้ชายหักหอผึ้ง" คำว่า หักหอผึ้ง ก็คือ
การหักตอกทำต้นผึ้งนั่นเอง กล่าวกันว่าในการไปช่วยงานศพ
หรืองานบุญแจกข้าวนั้นผู้ชายจะต้องนำพร้าติดตัวมาด้วย
ทั้งนี้เพราะใช้ทำงานทุกอย่างนับแต่ ถากไม้ตัดฟืนและจักตอกทำต้นผึ้ง หอผึ้ง-ต้น ผึ้ง ทำจากต้นกล้วยขนาดเล็ก ตัดให้ยาวพอสมควร แต่งลำต้น
ก้านทำขาหยั่งสามขาให้ยึดต้นกล้วยเข้าไว้เพื่อตั้งได้
จากนั้นจะนำขี้ผึ้งมาเคี่ยวให้หลอมเหลวเพื่อใส่ลงในแม่พิมพ์ แม่พิมพ์ทำจากผลไม้
เช่น ผลสิมลี (สิมพี ส้มพอดี โพธิสะเล)
นอกจากนี้ยังอาจให้ผลมะละกอขนาดเล็กคว้านภายในแต่งให้เป็นดอกเป็นแฉกตามต้อง การ
จากนั้นก็นำมาพิมพ์จุ่มขี้ผึ้งแล้วยกขึ้น นำไปแช่น้ำ
ขี้ผึ้งจะหลุดออกจากพิมพ์เป็นดอกดวงตามแบบแม่พิมพ์ ก่อนนำดอกผึ้งไปติดที่ก้านกล้วย
ต้นกล้วย
ช่างทำต้นผึ้งจะหั่นหัวขมิ้นให้เป็นแว่นกลมใช้ไม้กลัดเสียบแว่นขมิ้นรองดอก ผึ้ง
เพื่อมิให้ดอกผึ้งอ่อนตัวจนเสียรูปทรง การทำต้นผึ้ง
จะทำให้เสร็จก่อนวันเก็บอัฐิธาตุผู้ตาย ในวันเก็บอัฐิ
ญาติพี่น้องจะนำต้นผึ้งไปด้วย หลังจากใช้ก้านกล้วยคีบอัฐิมาทำเป็นรูปคนกลับธาตุ
ก็จะนำต้นผึ้งมาวางที่กองอัฐิ พระสงฆ์ชักบังสุกุลกลบธาตุ
ก่อนที่จะนำอัฐิไปบรรจุในสานที่อันเหมาะสมต่อไป ต้นผึ้งจึงให้เพื่อพิธีกรรมดังกล่าว
หอผึ้งมีความเกี่ยวพันกับต้นผึ้งอย่างใกล้ชิด
และเป็นต้นกำเนิดของการแห่ปราสาทผึ้งในปัจจุบัน หอผึ้งมีลักษณะเป็นทรงตะลุ่ม
ทำโครงด้วยไม้ไผ่ จักตอกผูกเสริมด้วยกาบกล้วย ก้านกล้วย
โครงหอผึ้งจะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม ๒ ชั้นต่อกัน คล้ายเอวขันหรือเอวพานภายในโครงไม้จะโปร่ง
เพื่อให้บรรจุเครื่องอัฐบริขารได้ทั้ง ๒ ชั้น เป็นที่สังเกตว่าหอผึ้งจะมี ๒ รูปแบบ
ต่างกันเล็กน้อย คือ บางแห่งทำหอ ๒ ชั้น
มีขนาดไล่เรี่ยกันแต่บางแห่งทำชั้นล่างใหญ่ กว้าง
ชั้นบนเหนือเอวขันทำทรงขนาดเล็กให้รับกับฐานล่าง ให้ดูพองาม การประดับหอผึ้ง
ยังนิยมประดับดอกผึ้งตามโครงกาบกล้วย
ก้านกล้วยแม้จะมีการแทงหยวกเป็นลวดลายบ้างแล้ว
ก็ยังไม่เน้นความงดงามของลายหยวกกล้วยเป็นสำคัญ หอผึ้งดังกล่าวจะทำให้เป็นคานหาม
เพื่อใช้แห่ไปถวายวัด ส่วนประกอบสำคัญยังเป็นโครงซึ่งทำด้วยตอกไม้ไผ่อยู่
จึงยังเรียกการทำหอผึ้ง แต่เดิมก็ยังคงทำควบคู่ไปกับการทำต้นผึ้ง กล่าวคือ
ประเพณีชาวอีสาน ถือว่า เมื่อถึงวันทำบุญ ถวายทานแก่ผู้ตายในงานแจกข้าว
เมื่อถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์แล้ว ก็ถวายหอผึ้งเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้วายชนม์
ดังมีคำถวายถึงปราสาทผึ้งตอนหนึ่งว่า
"…อิมานะ มะยังภัณเต มธุบุปผะ ปะสาทัง"
แม้ว่าการถวายหอผึ้ง จะกระทำอยู่ในงานแจกข้าว แต่ชาวอีสานในหมู่บ้านต่าง
ๆ ก็ยังถือว่า ควรจัดงานอุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์
ในช่วงวันออกพรรษาดังนั้นจึงนิยมหากิ่งไม้ หนามไผ่ มาสุมบริเวณที่เผาศพ
มิให้สัตว์มาขุดคุ้ย พร้อมปักไม้กั้นรั้วคอกไว้ เมื่อออกพรรษา
วันมหาปวารณาจึงทำบุญแจกข้าว โดยเลือกเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ หรือ แรม ๑ ค่ำ
ในเวลาเย็นจึงทำพิธีแจกข้าว พอถึงเวลาเย็น ชาวบ้านจึงแห่หอผึ้งไปยังวัดที่กำหนด
ตำบลหนึ่งมักกำหนดวัดสำคัญ ๆ เป็นที่หมาย ชาวบ้านจะสร้างตูบผาม
ปะรำพิธีไว้รับขบวนแห่ ซึ่งประกอบด้วย
1.
ขบวนฆ้อง กลองนำหน้า
2.
ขบวนกองบัง (บังสุกุล) หรือขบวนอัฐิผู้ตาย
3.
ขบวนหอผึ้ง
4.
ขบวนต้นกัลปพฤกษ์
การถวายหอผึ้ง แก่ภิกษุสงฆ์ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ว่าจะทำหอผึ้งจำนวนกี่หอ
บางแห่งลูกหลานผู้ตายก็จะทำเป็นของตนเองคนละ ๑ หอ บางแห่งถือว่าจะต้องช่วยกันทำถวายพระสงฆ์ให้ครบทุกวัดที่นิมนต์มาสวดมนต์
เย็น การฉลองหอผึ้งหลังจากสวดมนต์เย็น มีเทศนาให้เกิดบุญกุศล
แล้วมีการฉลองสนุกสนานรื่นเริง วันรุ่งเช้าจึงถวายอาหารพระสงฆ์
แล้วถวายหอผึ้งเป็นเสร็จพิธี จะเห็นว่า ประเพณีแห่ต้นผึ้งดังกล่าว
เป็นเรื่องราวที่มีคติความเชื่อมาจากงานบุญแจกข้าวโดยเฉพาะ
แต่ต่อมาประเพณีดังกล่าวได้ถูกจัดขึ้นให้ใหญ่โต
ในกลุ่มชาวเมืองสกลนครที่มีคุ้มวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ - ไกล
วัดพระธาตุเชิงชุมด้วยเหตุหลายประการ เช่น
1. พุทธศาสนิกชน เชื่อกันว่า
การทำบุญในวันออกพรรษาหรือวันเทโวโรหนะ (วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก)
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าโลกทั้งสาม (มนุษย์โลก เทวโลก ยมโลก)
จะมองเห็นความเป็นอยู่ซึ่งกันและกัน และโดยพุทธานุภาพแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ชาวบ้านได้เห็นหอผึ้งที่ตนทำถวาย ชาวคุ้มต่าง ๆ
จึงได้พากันจัดทำมาถวายเป็นประเพณีทุกปี
2. วัดพระธาตุเชิงชุมเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
เป็นที่พระพุทธเจ้ามาประชุมรอยพระพุทธบาทถึง ๔ พระองค์
การนำหอผึ้งมาถวายเป็นพุทธบูชารอยพระพุทธบาทย่อมเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
3. เป็นการทำบุญกุศลในช่วงเทศกาลออกพรรษา
บรรดาญาติพี่น้อง ที่อยู่ห่างไกลได้มาพบกัน หลังจาก หว่านกล้า ปักดำแล้ว
ยังได้จัดประเพณีแข่งเรือของคุ้มวัดต่าง ๆ ให้สนุกสนาน
ชาวบ้านได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน
2. ยุคปราสาทผึ้งทรงหอ
ปราสาทผึ้งทรงหอเล็ก ๆ มี ๒ รูปแบบ คือ
ทรงหอมียอดประดับหลังคาและปราสาททรงสิม หรือศาลพระภูมิ ที่มีขนาดเตี้ย
ป้อมกว่าชนิดแรก แต่ไม่มีหลังคาเรียงขึ้นเป็นยอดปราสาทชนิดหลังนี้พบเห็นในสกลนคร
เมื่อไม่นานมานี้
2.1 ปราสาททรงหอ มียอดประดับหลังคาแหลมสูง
2 ปราสาทผึ้งทรงสิมหรือทรงศาลพระภูมิ
3.ยุคปราสาทผึ้งเรือนยอด
พระมหาวารีย์ กล่าวใน "ประวัติการทำปราสาทผึ้ง"
ตอนหนึ่งสรุปความว่าแต่เดิมเมื่อมีชุมชนเกิดขึ้น รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม
ประชาชนบางตำบล เช่น ตำบลงิ้วด่อน
ได้รับหน้าที่เป็นผู้รักษาปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุเชิงชุม ที่เรียกว่า
"ข้าพระธาตุ" ครัวเหล่านี้ไม่ต้องเสียเงินส่วนให้หลวง ต่อมาพระเถระผู้เป็นเจ้าคณะตำบลงิ้วดอนมีลูกศิษย์และประชาชนในตำบลใกล้เคียง
เลื่อมใสมากขึ้น จึงได้ชักชวนเจ้าอาวาสและประชาชนที่อยู่ในตำบลใกล้เคียง คือ
ตำบลดงชน ตำบลดงมะไฟ ตำบลห้วยยาง ตำบลโดนหอม ตำบลบึงทะวาย ตำบลเต่างอย
เข้ามาร่วมเป็นข้าพระธาตุด้วย และแม้ว่าในเวลาต่อมาได้มีการยกเลิกหมู่บ้านข้าพระธาตุให้ทุกคนเสียภาษีแก่
ท้องถิ่นแล้วก็ตาม แต่ชาวบ้านรอบนอก ๆ
ก็ยังมีประเพณีทำบุญถวายพระธาตุในช่วงข้างขึ้น
เดือน ๑๑
ของทุกปี ในช่วงวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ำ
เป็นช่วงนำข้าวเม่าและต้นผึ้งมาถวายองค์พระธาตุเชิงชุม
โดยมีความหมายถึงการขอลาองค์พระธาตุไปอยู่ในนาเก็บเกี่ยวข้าว
ลักษณะรูปทรงปราสาทเรือนยอด
รูปแบบปราสาทผึ้งที่ทำด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นเส้น
หรืออาจทำด้วยโครงไม้ระแนงมีดอกผึ้งประดับตามกาบกล้วย
ซึ่งใช้ศิลปะการแทงหยวกได้เปลี่ยนไปจากเดิมในราว พ.ศ. ๒๔๙๖
โดยคณะกรรมการจัดงานประกวดปราสาทผึ้งเทศบาลสกลนคร
เห็นว่าไม่สามารถพัฒนารูปแบบลวดลายองค์ประกอบให้วิจิตรพิสดารได้จึงได้
เปลี่ยนเป็นการทำปราสาทผึ้งโดยทำปราสาทเป็นโครงไม้
เป็นทรงปราสาทจตุรมุขมีเรือนยอดเรียวหรือที่เรียกวา "กุฎาคาร"
ตัวอาคารทั้งสี่ด้านต่อเป็นมุขยื่นออกไปมีขนาดเท่ากัน บางแห่งสร้างปราสาท ๓ หลัง
ติดกัน นอกจากนี้ยังเน้นความประณีต
ในการตกแต่งลวดลายการทำปราสาทผึ้งโดยทำปราสาทเป็นโครงไม้
เป็นทรงปราสาทจตุรมุขมีเรือนยอดเรียว หรือที่เรียกว่า "กุฎาคาร"
ตัวอาคารทั้งสี่ด้านต่อเป็นมุขยื่นออกไปมีขนาดเท่ากัน บางแห่งสร้างปราสาท ๓
หลังติดกัน นอกจากนี้ยังเน้นความประณีต ในการตกแต่งลวดลาย
การทำปราสาทผึ้งเรือนยอด
1. การทำโครงไม้ โดยการเลือกรูปแบบ ออกแบบ
ให้โครงไม้มีสัดส่วนสวยงามทั้งนี้โดยใช้ช่างไม้ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
โครงไม้เหล่านี้มักใช้เพียง ๔-๕ ปีก็จะเปลี่ยนหรือขายให้ผู้อื่น
2. การออกแบบลวดลายที่ใช้ประดับส่วนต่าง ๆ
พร้อมทั้งการใช้สีซึ่งต้องคิดไว้ให้พร้อม
3. การแกะลวดลาย
และการพิมพ์จากดินน้ำมันหรือวัสดุทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ก่อนทำแม่พิมพ์
4. การหล่อขี้ผึ้ง -
การแกะขี้ผึ้งตามแบบที่กำหนดไว้ในขั้นตอนนี้ อาจใช้ทั้งขี้ผึ้งแท้ ขี้ผึ้งผสม
หรือสารวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้แล้วแต่ความชำนาญของช่างแต่ละแห่งแต่โดยทั่ว ๆ
ไปมักใช้การหล่อขี้ผึ้งอ่อนลงในแม่พิมพ์แล้วลอกออก
ตกแต่งให้ขี้ผึ้งมีลวดลายเด่นชัดหรือตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก
5. การประดับตกแต่งตามด้วยอาคารปราสาทด้วยการใช้ เข็มหมุด
หรือเชื่อมให้ยึดติดกัน
ปัจจุบัน
การทำปราสาทผึ้ง เป็นงานใหญ่ที่มีการเตรียมการจัดไม่น้อยกว่า ๓ เดือน
สำหรับคุ้มวัดที่ลงมือทำทุกขั้นตอน แต่ความสับสนวุ่นวายทางเศรษฐกิจทำให้ประกอบเอง
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาที่เปลี่ยนไปจากเดิมที่คุ้มวัดเป็นศูนย์รวมการ
ทำปราสาทผึ้ง หรืองานบุญต่าง ๆ
พิธีกรรม
พิธีกรรมในประเพณีปราสาทผึ้งของชาวจังหวัดสกลนคร กล่าวได้ว่า ขึ้นอยู่กับ
ความเชื่อของการทำปราสาทผึ้งแต่ละชนิด แต่ละยุคสมัย กล่าวคือ
ในยุคที่มีการทำหอผึ้งทรงตะลุ่มด้วยโครงไม้ไผ่ กาบกล้วย
ก้านกล้วยประดับดอกผึ้งนั้น เมื่อนำไปเพื่อถวายพระสงฆ์ ตลอดจนการทำปราสาทผึ้งทรงหอผี
และปราสาทผึ้งทรงจตุรมุข เมื่อนำไปถวายพระสงฆ์ จะกล่าวคำถวายเป็นภาษาบาลีดังนี้
"อิมานิ มะยังภัณเต มธุบุปยะ ปะสาทัง"
หลังจากนั้นจึงทิ้งปราสาทผึ้งไว้ที่วัด ๓ วัน ๗ วัน แล้วจึงนำกลับ
บางแห่งก็มอบถวายทิ้งไว้ที่วัด ในปัจจุบันเมื่อมีการทำปราสาทผึ้งจตุรมุขขนาดใหญ่ลงทุนมากเมื่อพระสงฆ์รับ
ถวายปราสาทผึ้งแล้วจะตั้งไว้ให้ประชาชนชมระยะสั้น ๆ ๑ คืน
แล้วจะนำกลับคุ้มวัดของตน อย่างไรก็ดีในสมัยโบราณกล่าวว่า
ประเพณีของชาวคุ้มวัดก่อนทำปราสาทผึ้ง ๓ วัน
จะนิยมนิมนต์พระสงฆ์มาสวดชัยมงคลคาถาที่หมู่บ้านบริเวณที่จะทำปราสาทผึ้ง ๓ คืน
เมื่อทำปราสาทผึ้งเสร็จก่อนนำไปถวายวัดจะฉลองคบงันอีก ๑ วัน ๑ คืน จึงนำไปถวายวัด
ปัจจุบันพิธีกรรมดังกล่าวไม่เหลือปรากฏให้เห็น
แต่หากเริ่มทำปราสาทผึ้งไปทีละขั้นตอนกว่าจะเสร็จใช้เวลานานนับ ๑ เดือนขึ้นไป
ซึ่งต่างจากสมัยโบราณที่ชาวคุ้มช่วยกันทำภายในเวลา ๓ วัน ๗ วันก็เสร็จเรียบร้อย
สาระ
ประเพณีปราสาทผึ้ง
มีเนื้อหาสาระสำคัญอยู่ที่ความรู้สึก
จิตใจที่ได้ปฏิบัติงานตามจารีตประเพณีเกิดความมั่นคงทางจิตใจเป็นสำคัญ
ส่วนเนื้อหาสาระในด้านต้องการให้เกิดบุญกุศล ก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกับในการทำปราสาทผึ้งถวายวัด
ถือว่าได้บุญสูงสุดเพราะผึ้งเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา
ดังปรากฏในพุทธประวัติตอนปาลิไลยลิง
นำรวงผึ้งมาถวายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนเทโวโรหนะ
ที่พระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริยะเปิดโลกให้แลเห็นซึ่งกันและกันทั้ง ๓ โลก
อย่างไรก็ดีในสาระของความต้องการบุญกุศลส่วนตัวดังกล่าวมาแล้วยังมีสาระที่
ต้องการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้วายชนม์
ซึ่งอาจได้มาจากคติของชาวจีนที่ทำมาหากินในสกลนคร
ที่ทำการตักเป็นรูปทรงบ้านเรือนอาคารเผาอุทิศให้ผู้ตาย
แต่หากดัดแปลงเป็นการสร้างอาคารเป็นทรงหอผี ประดับด้วยดอกผึ้งถวายพระสงฆ์อุทิศให้ผู้วายชนม์
ชื่อประเพณี : งานมหกรรมโปงลาง แพรวากาฬสินธุ์
จังหวัด :
กาฬสินธุ์
ช่วงเวลา :
ระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์-๖ มีนาคม ของทุกปี
ความสำคัญ
โปงลาง
ถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด กาฬสินธุ์
ทั้งนี้เพราะโปงลางได้เปลี่ยนสภาพจากขอลอหรือเกราะลอ
มาเป็นเครื่องดนตรีธรรมชาติประเภทเครื่องตีไม้
โดยปราชญ์ชาวบ้านของจังหวัดกาฬสินธุ์คือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี
ได้พัฒนาจนกลายมาเป็นเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่ง
บรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานชิ้นอื่น ๆ จนเกิดเป็นวงดนตรีโปงลาง
มีการคิดท่าฟ้อนประกอบลายโปงลางรวมทั้งการแสดงต่าง ๆ
ที่ดัดแปลงมาจากวิถีชีวิตธรรมชาติของคนชนบทอีสาน
จนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันโดยทั่วไป
เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงโปงลางที่วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ทรงร่วมวงโปงลาง
บรรเลงลายเต้ยโขงและลายลมพัดพร้าว ที่พลิ้วหวานจับใจ
จังหวัดกาฬสินธุ์จึงถือเอาวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์
ของทุกปีเป็นวันเริ่มงานมหกรรมโปงลาง แพรวาและกาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์สืบต่อกันมา
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในฐานะผู้รับผิดชอบงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม
กำหนดให้มีการประกวดวงดนตรีและการแสดงโปงลาง โดยแบ่งประเภทวงออกเป็น ๓ ระดับ คือ
ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับประชาชน
โดยจัดให้มีการประกวดในช่วงเวลาของงานเทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่นี้คือ
งานมหกรรมประกวดดนตรีโปงลาง งานเทศกาลผ้าไหมแพรวา ที่เป็นสุดยอดของดีเอกลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์
อีกทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีโปงลางระดับประชาชน
ถ้วยรางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษา
พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
และถ้วยรางวัลชนะเลิศระดับประถมศึกษาจากเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่ง ชาติ
จากปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นมา นับว่าเป็นปีทองของดนตรี
โปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์เพราะดนตรีโปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์
ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดและประเทศไทย โดยได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดดนตรีพื้นเมืองนานาชาติ
ระดับมัธยมศึกษา ครั้งที่ ๑ ณ ประเทศตุรกี
จนเป็นผลให้การแสดงดนตรีโปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
สาระ
งานมหกรรมโปงลาง
แพรวาและงานกาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นงานประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดที่จัดเป็นประจำทุกปี
เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศต่างให้ความสนใจกับงาน เทศกาลนี้
โดยในแต่ละปีจะเดินทางมาเที่ยวชมและเลือกซื้อสินค้าพื้นเมืองเลื่องชื่อของ
จังหวัดไปปีละเป็นจำนวนมาก เป็นการส่งเสริมรายได้อุตสาหกรรมท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย
วัตถุประสงค์หลักของงานนี้มุ่งเผยแพร่ ฟื้นฟู
อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
เพื่อสนับสนุนเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีและผลงานของส่วนราชการทั้งภาครัฐ
และเอกชนของจังหวัด แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป จุดเน้นสำคัญของงานคือขบวนแห่ในพิธีเปิดงานที่มโหฬารที่แสดงให้เห็นถึง
ประเพณีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สร้างขึ้นจากคำขวัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ ว่า
"โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรม ผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว
ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี" ที่แสดงถึงความรักสามัคคี ความพร้อมเพรียง การรวมใจเป็นหนึ่งของผู้คนที่จะช่วยกันจรรโลง
เชิดชูเกียรติ ชื่อเสียง และเอกลักษณ์ของเมืองกาฬสินธุ์ให้เป็นที่รู้จักสืบไป
ชื่อประเพณี : การแข่งเรือพิมาย
จังหวัด :
นครราชสีมา
ช่วงเวลา :
หลังวันออกพรรษา แต่ไม่เกินวันเพ็ญเดือนสิบสอง
ความสำคัญ
การแข่งเรือเป็นรูปแบบของการเล่นในฤดูน้ำหลากที่สร้างความสามัคคีของคนใน
หมู่บ้าน และคนต่างหมู่บ้านได้พบปะกัน
เป็นการสร้างความสมานสามัคคีของสังคมได้ทางหนึ่ง
พิธีกรรมที่ปฏิบัติ
แต่เดิมแข่งที่ท่าน้ำบ้านวังหิน ต่อมาย้ายมาแข่งที่ลำตลาด
ซึ่งอยู่ที่อำเภอพิมาย โดยจัดต่อเนื่องกันทุกปีจนถึงปัจจุบัน
แต่เดิมเมื่อแต่ละหมู่บ้านทราบกำหนดการแข่งเรือล่วงหน้าก็จะฝึกซ้อมฝีพาย
ซึ่งเป็นชายฉกรรจ์ในหมู่บ้านจนชำนาญ
เมื่อใกล้ถึงวันแข่งเรือจะนำขึ้นมาขัดท้องเรือด้วยใบตองแห้ง
เสร็จแล้วทาสีและลวดลายที่เรือและใบพาย แล้วทำพิธีไหว้เซ่นแม่ย่านางเรือเสร็จแล้วลากเรือลงน้ำฝีพายลงเรือโห่เอา
ฤกษ์เอาชัย
เรือแข่งของแต่ละหมู่บ้านจะมาพร้อมกันที่บริเวณสถานที่แข่งขันเมื่อพระฉัน
จังหันแล้ว เมื่อได้เวลาเจ้าหน้าที่จะให้เรือแต่ละลำพาย แสดงตัวตามลำดับ
ซึ่งจะเรียกชื่อตามที่มาถึงก่อนหลังตามชื่อเรือ เช่น มุนีจอมขวัญ เสมียนเสนาะเพราะสนั่นหมื่นสะท้านแผ่นดินไหว
เป็นต้น เมื่อครบจำนวนแล้วจับสลากคู่แข่งกันในแต่ละประเภท โดยกำหนดที่ฝีพายเป็นเรือขนาดใหญ่
กลาง เล็ก แข่งขันจนกว่าจะได้เรือที่ชนะเลิศของแต่ละรุ่น ซึ่งขณะแข่งขันผู้ชมการแข่งขันสองฟากฝั่งจะโห่ร้องเมื่อเรือหมู่บ้านของตน
ได้รับชัยชนะเป็นที่สนุกสนาน ปัจจุบันการแข่งขันเรือพิมาย ได้พัฒนาการแข่งเรือแบบพื้นบ้านมาเป็นการแข่งเรือแห่งประเทศไทย
และถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลเที่ยวพิมายในเดือนพฤศจิกายนของทุก ปี
สาระ
1. ได้สืบทอดภูมิปัญญาและการช่างฝีมือ ในการสร้างเรือ การดูแลรักษา
2. เป็นกระบวนการสร้างพลังสามัคคี การเกาะเกี่ยวทางสังคม
อย่างแน่นแฟ้น
3. ได้รักษาและสืบทอดประเพณีท้องถิ่นที่ดีงามให้คงไว้กับชุมชน
ชื่อประเพณี : ขึ้นเขาพนมรุ้ง
จังหวัด :
บุรีรัมย์
ช่วงเวลา :
เดือนเมษายนทุกปี (วันเพ็ญเดือนห้า)
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑
โดยความคิดริเริ่มของท่านเจ้าคุณโอภาสธรรมญาณ จากวัดท่าประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์
ซึ่งเดินทางมาเพื่อปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานที่เขาพนมรุ้ง
ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีทางขึ้นสู่ตัวปราสาท ผู้ที่สนใจอยากขึ้นชมปราสาทต่างคนต่างขึ้นมาเองโดยไม่กำหนดเวลาประกอบกับ
จังหวัดสุรินทร์มีประเพณีขึ้นเขาสวายในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกๆ ปี
ท่านเจ้าคุณโอภาสธรรมญาณเห็นว่าประเพณีขึ้นเขาเป็นสิ่งดี
เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันทำบุญพบปะสังสรรค์
สร้างความสามัคคีและมีโอกาสได้พักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย
จึงริเริ่มให้จัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญเดือน ๕ ปี พ.ศ.
๒๔๘๕ และประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งก็ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบันเป็นที่
น่าสังเกตว่าในช่วงงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งทุกปีจะมีปรากฏการณ์ที่สำคัญ
อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
คือในช่วงเวลานั้นเราจะมองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงตามความยาวของปราสาทเรา
สามารถมองลอดประตูทางด้านทิศตะวันตกฝ่ากรอบประตูต่างๆ กว่า ๑๐ กรอบ
ทะลุผ่านประตูปรางค์ประธาน และทะลุออกซุ้มประตูหน้า ความยาว ๘๘ เมตร
มองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกรอบประตูพอดี
ความสำคัญ
เป็นวันที่ประชาชนทั่วไปร่วมทำบุญปิดทองนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง
ที่ประดิษฐานอยู่ในปรางค์องค์น้อยและทำให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์แลก
เปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ โดยเฉพาะการทอผ้าไหมทั้งนี้เพราะในช่วงงานประเพณีขึ้นเขา
ชาวบ้านหญิงชายจะแต่งกายด้วยผ้าไหมทอลวดลายสวยงามประณีตที่สุดของตนเองเป็น
การอวดฝีมือและความสามารถสร้างชื่อเสียงของหมู่บ้านและของตนเองอีกด้วยและ
ยังเป็นโอกาสให้ชาวบ้านได้เที่ยวชมความงามของปราสาทพนมรุ้ง
และชักชวนให้คนเดินทางมาเที่ยวชมในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งมากขึ้นทุกปี
สาระ
เป็นการแสดงถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีของประชาชนในท้องที่อำเภอประโคนชัย
และบริเวณใกล้เคียงและยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น
ชื่อประเพณี : บุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก)
จังหวัด :
ยโสธร
ช่วงเวลา : เดือนพฤษภาคม
ความสำคัญ
ชาวจังหวัดยโสธรร้อยละ ๘๕ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม
ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
พิธีกรรม
ประกอบด้วย
1. การเซิ้งเพื่อขอรับบริจาคทรัพย์สินเงินทอง
และอาหารการกิน เพื่อนำมาเป็นทุนในการจัดทำบั้งไฟและเป็นเสบียงสำหรับผู้จัดทำบั้งไฟ
2. การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม (บั้งไฟโก้)
3. การประกวดขบวนรำเซิ้ง
4. การประกวดธิดาบั้งไฟโก้
5. การแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
6. การแข่งขันจุดบั้งไฟ แฟนซี (บั้งไฟ แสง สี เสียง)
7. การประกวดกองเชียร์บั้งไฟในวันแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
สาระ
1. เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน
เกษตรกรไม่ควรประมาท
2. เป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน
และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
3. กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน
และการเสียสละ
4.
เป็นงานประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร
ชื่อประเพณี : บุญผะเหวด (พระเวส)
จังหวัด :
ร้อยเอ็ด
ช่วงเวลา :
วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม
ความสำคัญ
บุญผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญมหาชาติ
เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน แต่ถ้าถือเป็นเรื่องทาน
ก็เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ ก็พอจะอนุมานได้ถึงสภาพทั่วไป
ของชาวอีสานว่า ดอกจิก ดอกจาน บานราวต้นเดือน ๓ พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้
มาร้อยเป็นมาลัยเพื่อตกแต่งศาลาการเปรียญสำหรับบุญมหาชาติและในงานนี้ก็จะมี
การเทศน์มหาชาติ
ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียว
และบำเพ็ญคุณงามความดี จะได้อานิสงส์ไปเกิดในภพหน้า
พิธีกรรม
ชาวอีสาน จะจัดทำบุญผะเหวด ปีละ ๑ ครั้ง ระหว่างเดือน ๓ เดือน ๔
ไปจนถึงกลางเดือน ๕ จังหวัดร้อยเอ็ด
จะจัดประเพณีบุญผะเหวดในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคมทุกปี
โดยจะมีวันรวมตามภาษาอีสาน เรียกว่า วันโฮมบุญ
พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลาหรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ
ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ
เป็นที่เก็บข้าวพันก้อน และเครื่องคาวหวาน สำหรับ ผี เปรต และมารรอบๆ
ศาลาการเปรียญจะแขวนผ้าผะเหวด เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร ตั้งแต่กัณฑ์ที่ ๑
ถึงกัณฑ์สุดท้าย การจัดงานบุญผะเหวด หรือ งานเทศน์มหาชาตินิยมที่อัญเชิญพระอุปคุต
มาปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดเหตุเภทภัยอันตรายทั้งปวง และให้โชค
ลาภแก่พุทธศาสนิกชนในการทำบุญมหาชาติ จึงมีการแห่พระอุปคุต ซึ่งสมมุติว่า
อัญเชิญมาจาก สะดือทะเล
สาระ
บุญผะเหวด หรืองานบุญมหาชาติ คืองานมหากุศล ให้รำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือ
ความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัวเพื่อผลคือ
ประโยชน์สุขอันไพศาลของมวลชนมนุษย์ชาติ เป็นสำคัญ ดังนั้น
บรรพชนชาวไทยอีสานแต่โบราณ
จึงถือเป็นเทศกาลที่ประชาชนทั้งหลายพึงสนใจร่วมกระทำบำเพ็ญ
และได้อนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมสืบมา
จนถึงอนุชนรุ่นหลังที่ควรเห็นคุณค่าและอนุรักษ์เป็นวัฒนธรรมสืบไป
นอกจากนี้ยังเป็นการสังสรรค์ ระหว่างญาติพี่น้องจากแดนไกลสมกับคำกล่าวที่ว่า
"กินข้าวปุ้น เอาบุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ"
ชื่อประเพณี : บุญเบิกฟ้า
จังหวัด :
มหาสารคาม
ช่วงเวลา :
วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี (อยู่ระหว่างปลายเดือน ม.ค.-ต้นเดือน ก.พ.)
ความสำคัญ
ประเพณีบุญเบิกฟ้า
เป็นประเพณีของชาวมหาสารคามที่ประกอบขึ้นตามความเชื่อว่า เมื่อถึงวันขึ้น ๓ ค่ำ
เดือน ๓ ของทุกๆ ปี ฟ้าจะเริ่มไขประตูฝน โดยจะมีเสียงฟ้าร้อง
และทิศที่ฟ้าร้องเป็นสัญญาณบ่งบอกตัวกำหนดปริมาณน้ำฝนที่จะตกลงมาหล่อเลี้ยง
การเกษตรในปีนั้น ๆตำนานโบราณกล่าวถึงทิศที่ฟ้าร้องว่า
1. ทิศบูรพา มีครุฑเป็นสัตว์ประจำทิศ
เป็นทิศประตูน้ำ ถ้าฟ้าร้องทิศนี้ฝนจะดี ข้าวกล้าในนาจะอุดมสมบูรณ์
คนทั้งปวงจะได้ทำบุญให้ทานอย่างเต็มที่
2. ทิศอาคเนย์ มีแมวเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูลม ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะน้อย
นาแล้ง คนจะอดอยาก และเกิดโรคระบาด
3. ทิศทักษิณ มีราชสีห์เป็นสัตว์ประจำทิศ
เป็นทิศประตูทอง ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะมาก
น้ำจะท่วมข้าวกล้าในนาเสียหายถึงสองในห้าส่วน นาลุ่มเสีย นาดอนดี
มีปูปลาอุดมสมบูรณ์
4. ทิศหรดี มีเสือเป็นสัตว์ประจำทิศ
เป็นทิศประตูตะกั่วหรือประตูชิน ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะดี น้ำงามพอเหมาะ
ผลหมากรากไม้อุดม ปูปลามีมาก ข้าวกล้าบริบูรณ์ ผู้คนมีความสุข
5. ทิศปัจจิม มีนาคเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูเหล็ก
ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะแล้ง น้ำน้อย ข้าวกล้าในนาแห้งตาย เสียหายหนัก
6. ทิศพายัพ มีหนูเป็นสัตว์ประจำทิศ
เป็นทิศประตูหินถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะตกปานกลาง ข้าวกล้าได้ผลกึ่งหนึ่ง
เสียหายกึ่งหนึ่ง ปูปลามีน้อย คนจักป่วยไข้
7. ทิศอุดร มีช้างเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูเงิน ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้
ฝนจะดี ข้าวกล้าในนางอกงามดี คนมีสุขทั่วหน้า
8. ทิศอีสาน มีงัวเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูดิน ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้
ฝนจะดีตลอดปี ข้าวกล้าในนาจะงอกงามสมบูรณ์ดี คนจะมีความสุขเกษมตลอดปีอย่างถ้วนหน้า
ด้วย
ความเชื่อตามตำนานดังกล่าว ชาวมหาสารคามจึงมีประเพณีบุญเบิกฟ้า (เดิมเรียกว่าบุญเบิกบ้าน)
เพื่อขอพรจากแถน (เทพผู้เป็นใหญ่) ให้ไขประตูฟ้าทางทิศที่เป็นมงคล
อนึ่งในวันขึ้น
๓ ค่ำ เดือน ๓ จะมีปรากฏการณ์มหัศจรรย์เกิดขึ้น ๓ อย่างคือ
1. กบไม่มีปาก
คือจะมีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นปิดรูกบเป็นอันว่าวันนั้นกบจำศีล ไม่ฆ่าสัตว์อื่น ๆ
เป็นอาหาร
2. นากไม่มีรูทวาร คือมีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นปิดทวารหนักของตัวนาก
เป็นอันว่านากจะไม่ขับถ่ายในวันนั้น เพราะไม่ได้กินอาหาร
3. มะขามป้อมจะมีรสหวาน
พิธีกรรม
บุญเบิกฟ้า มี ๔ อย่างคือ
1. จัดพิธีสู่ขวัญข้าว
ชาวอีสานเรียกว่าทำบุญตุ้มปากเล้า
เพื่อแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ เพื่อความสบายใจในการซื้อขายข้าว
และเพื่อให้การแบ่งปันข้าวแก่ญาติมิตรผู้มาร่วมพิธี
เครื่องบูชาหรือเครื่องคายในพิธีสู่ขวัญข้าว
1. ใบคูน ๙ ใบ
2. ใบยอ ๙ ใบ
3. ขันหมากเบ็ง (พานบายศรี)ห้าชั้น ๒ ขัน
4. กระทงใหญ่เก้าห้อง ใส่เครื่องบัดพลีต่าง ๆ
มีหมากพลู บุหรี่ ข้าวตอก ดอกสามปีบ่เหี่ยว (บานไม่รู้โรย) ดอกรัก ถั่วงา
อาหารคาวหวาน หมากไม้ เหล้าไห ไก่ตัว ไข่ไก่ ข้าวต้มมัด เผือก มัน มันแข็ง มันอ่อน
มันนก ข้าวต้มใส่น้ำอ้อย
5. ต้นกล้วย
6. ต้นอ้อย
7. ขัน ๕ ขัน ๘ (พานใส่ดอกไม้และเทียนจำนวนอย่างละ ๕ คู่และ ๘
คู่ ตามลำดับ)
8. เทียนกิ่ง
9. ธูป
10. ประทีป
11. แป้งหอม
12. น้ำหอม
13. พานใส่แหวน หวี กระจก
14. เครื่องนอน มีสาดอ่อน (เสื่อ) หมอนลาย หมอนพิง แป้งน้ำ
15. ฟักแฟง ฟักทอง กล้วยตานี กล้วยอีออง (กล้วยน้ำว้า)
16. เงินคาย ๑ บาทกับ ๑ เฟื้อง
พิธีการ
1. จัดเครื่องบูชาวางไว้บนกองข้าว
ในยุ้งฉางข้าวมีผ้าขาวปูรองรับ โยงด้ายสายสิญจน์ จากเครื่องบูชานั้น
โยงไปรอบยุ้งและไปยังเรือนเจ้าของยุ้ง
2. หมอสูตรหรือเจ้าพิธีจะนุ่งขาวห่มขาวแบบพราหมณ์
ถือหนังสือใบลานก้อมเรื่องคำสูตรขวัญข้าวขึ้นไปที่ยุ้ง นั่งลงตรงหน้าเครื่องบูชา
หันหน้าไปทางทิศที่เป็นมงคลประจำวัน ไหว้พระรัตนตรัย
ป่าวสัคเคชุมนุมเทวดาแล้วอ่านคำสูตรขวัญข้าวจากหนังสือก้อม
3. ในขณะที่หมอสูตรกำลังร่ายคำอยู่นั้น จะมีคน ๒ คน
ยืนระวังอยู่ ๒ ข้างประตูยุ้งฉาง คอยส่งเสียงร้องเรียกขวัญข้าวเป็นระยะ ๆ
สอดคล้องกับคำสูตรของหมอสูตร
4. เมื่อหมอสูตรว่าคำสูตรจบลงเป็นอันเสร็จพิธี
แต่เครื่องบูชาทั้งหลายให้วางไว้ที่เดิมอีก ๗ วัน
เว้นแต่มีสิ่งใดที่เน่าบูดก็เก็บออกได้
5. ห้ามทำการตักข้าวออกจากยุ้งฉางก่อนจะครบ ๗ วัน
หลังจากทำพิธีสู่ขวัญข้าวแล้ว
2. หาบปุ๋ยคอก (ชาวอีสานเรียกว่าฝุ่น)ไปใส่ผืนนา
เพื่อบำรุงดิน
พิธีการ
ในตอนเช้ามืดของวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ชาวนาจะต้องหาบปุ๋ยคอกจากกองมูลวัว
มูลควาย ซึ่งมักอยู่ใต้ถุนเรือนของตน ทยอยออกไปใส่ผืนนา จนกระทั่งถึงเที่ยงวัน
จึงหยุด เป็นการเริ่มต้นเอาฝุ่น (ปุ๋ยคอก) ใส่นาในปีนั้น
3. พิธีทำบุญเฮือน
เพื่อนำสิริมงคลจากพระรัตนตรัยมาสู่ที่อยู่อาศัย
พิธีการ
ตอนเย็นนิมนต์พระภิกษุจำนวน ๕ หรือ ๙ รูป มาสวดมนต์เย็นที่บ้าน
ตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นนิมนต์พระสงฆ์ชุดเดิมมาสวดมนต์เช้าที่บ้านแล้วทำบุญ
ตักบาตรและถวายจังหันเช้า
4. พิธีนำข้าวเปลือกเต็มกระบุงมาถวายวัด
เพื่อแสดงความเคารพศรัทธาต่อพระสงฆ์
เนื่องจากคนอีสานโบราณนั้นมีศรัทธาแรงกล้าต่อพุทธศาสนา เมื่อได้สิ่งที่ดี ๆ ต้องนำไปถวายพระก่อน
สมัยก่อนในวัดทุกวัดจะมียุ้งฉางข้าว (เล้าข้าว) ปลูกไว้ด้วย
เมื่อญาติโยมบริจาคข้าวเปลือกก็นำมาเก็บไว้ในยุ้งฉาง
เอาไว้แจกทานต่อผู้ยากไร้ในโอกาสต่อไป
พิธีการ
เมื่อถึงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี
จะตรงกับช่วงที่ชาวนานำข้าวเปลือกมาสู่เล้าหรือยุ้งฉางเสร็จใหม่ ๆ
ชาวอีสานมีข้อคะลำหรือขะลำ (ข้อควรระวังหรือข้อห้าม) เกี่ยวกับข้าวว่า
1.
ถ้ายังไม่ทำพิธีสู่ขวัญข้าวห้ามตักข้าวออกจากยุ้งฉาง
ถ้าจำเป็นต้องใช้บริโภคต้องกันจำนวนหนึ่งไว้ต่างหาก
2.
ห้ามตักข้าวในยุ้งฉางในวันศีลน้อยใหญ่ (วัน ๗-๘ ค่ำ และวัน ๑๔-๑๕ ค่ำ
ทั้งขึ้นและแรม)
3.
ก่อนตักข้าวทุกครั้ง ต้องนั่งลงยกมือขึ้นพนมแล้วกล่าวคาถาว่า "บุญข้าว
บุญน้ำเอย กินอย่าให้บก จกอย่าให้ลง" แล้วจึงตักได้
ดังนั้น
ในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี จึงมีพิธีสู่ขวัญข้าว พิธีต้มปากเล้า
พิธีเอาบุญเฮือน และตอนบ่าย ๆ ของวันนั้นจะนำข้าวเปลือกเต็มกระบุงไปถวายวัด
แล้วจึงใช้ข้าวในยุ้งฉางเป็นประโยชน์ได้ตามอัธยาศัย
สาระ
1.
เป็นการเตรียมพร้อมที่จะลงมือทำการเกษตรได้ทันฤดูกาล
เพราะเมื่อถึงเทศกาลบุญเบิกฟ้า พวกเขาย่อมได้ทำบุญให้เกิดขวัญและกำลังใจ
ได้หาบปุ๋ยคอกบำรุงดิน แล้วเตรียมกาย เตรียมใจและเครื่องมือให้พร้อมที่จะทำนา
2. เป็นผู้มีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อพุทธศาสนา
เพราะได้ทำบุญเป็นประจำทุกปี ทำให้รู้จักเสียสละไม่ตระหนี่ถี่เหนียว
3. เป็นผู้มีความกตัญญูต่อผืนนา สิ่งแวดล้อม
ดินฟ้าอากาศ ตลอดจนเทพต่าง ๆ ที่เชื่อว่าเป็นผู้บันดาลฝนและธัญญาหารเช่น พญาแถน
และพระแม่โพสพ เป็นต้น
4. เป็นผู้รู้จักประหยัดเช่น
รู้จักเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉางอย่างมีระเบียบ แม้แต่จะ
ตักออกก็ยังมีพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ช่วยเตือนสติไม่ให้ใช้ข้าวอย่างสุรุ่ยสุร่าย
ดังคำสอนของสมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าที่ว่า "นตฺถิ ธญฺญสม ธน" แปลว่า
"ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกไม่มี"
ชื่อประเพณี : การละเล่นผีตาโขน
จังหวัด :
เลย
ช่วงเวลา
ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี
ความสำคัญ
การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อ ใด
แต่ชาวบ้านได้ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ
เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย แสดงในงาน "บุญหลวง"
ซึ่งเป็นการรวมเอาบุญผะเหวดและบุญบั้งไฟเป็นบุญเดียวกัน
เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง
และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต
พิธีกรรม
มีการจัดทำพิธี ๒ วัน คือ วันแรก (วันโฮม)
ขบวนผีตาโขนจะแห่รอบหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด
เป็นการทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาอยู่ที่วัด
ในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง
โดยสมมุติให้วัดเป็นเมือง สำหรับวันที่สองของงานนี้ ชาวบ้านยังได้นำบั้งไฟมาร่วมในขบวนแห่เพื่อเป็นพิธีขอฝนโดยแห่รอบวัด
๓ รอบ ในขณะที่แห่อยู่นั้นเหล่าผีตาโขนทั้งหลายก็จะละเล่นหยอกล้อผู้คนไปเรื่อย ๆ
เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน
หลังจากเสร็จพิธีการแห่แล้วบรรดาผู้ละเล่นผีตาโขนจะนำเครื่องเล่นผีตาโขน
และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปล่องลงแม่น้ำหมัน และในตอนค่ำของวันเดียวกัน
จะมีการฟังเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์
สาระ
การละเล่นผีตาโขนนับว่าเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้พบเห็น
มีการนำเอาก้านทางมะพร้าวที่แห้ง นำมาตกแต่งเป็นหน้ากาก โดยการเจาะช่องตา จมูก ปาก
และใบหู นำเอาหวดนึ่งข้าว โดยกดดันหวดให้เป็นรอยบุ๋มหงายปากหวดขึ้น
เพื่อสวมศีรษะแต่งแต้มสีสันให้น่าดู
ส่วนชุดที่สวมใส่ทำมาจากเศษผ้าหลากหลายสีมาเย็บต่อกัน อุปกรณ์ในการละเล่นมี ๒ ชิ้น
คือ "หมากกระแหล่ง" มีไว้เพื่อเขย่าทำให้เกิดเสียงดังในเวลาเดิน และ
"อาวุธประจำกาย" ผีตาโขนส่วนมากจะใช้ผู้ชายแสดงเนื่องจากต้องกระโดดโลดเต้นไปเรื่อย
ๆ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง นอกจากเข้าร่วมในงาน "บุญหลวง"
ยังได้เข้าร่วมขบวนแห่ในวันเปิดงานกาชาดดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย
โดยขบวนผีตาโขนจะเดินรอบเมืองเพื่อโชว์ให้แขกบ้านแขกเมืองได้เห็น
เนื่อง ภาคอีสาน เป็นภาคที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน ดนตรีพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน และศิลปะการฟ้อนรำ ดังนั้นทางกระปุกดอทคอม จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาคอีสานมาฝากค่ะ
เพลงพื้นบ้าน
สำหรับเพลงพื้นบ้านของภาคอีสานนั้น จะมีท่วงทำนองแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ โดยจะแบ่งเป็นพื้นที่ใหญ่ ๆ ได้แก่ อีสานเหนือ และอีสานใต้ ซึ่งเพลงพื้นบ้านของภาคอีสาน มักสอดแทรกแง่คิด เกี่ยวกับวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ไว้อย่างชัดเจน และสามารถแบ่งประเภทของเพลงพื้นบ้าน ได้ดังนี้
1. เพลงพิธีกรรม
ตัวอย่างเพลงพิธีกรรมของกลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ การลำพระเวส หรือการเทศน์มหาชาติ การแหล่ต่าง ๆ การลำผีฟ้ารักษาคนป่วย การสวดสรภัญญะ และการบายศรีสู่ขวัญในโอกาสต่าง ๆ ฯลฯ
ส่วน ตัวอย่างเพลงพิธีกรรมของกลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ เรือมมม็วต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า "เรือมมม็วต" จะช่วยให้คนที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยมีอาการทุเลาลงได้ ผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน แต่จะต้องมีหัวหน้าหรือครูมม็วตอาวุโสทำหน้าที่เป็นผู้นำพิธีต่าง ๆ และเป็นผู้รำดาบไล่ฟันผีหรือเสนียดจัญไรทั้งปวง
2. เพลงร้องเพื่อความสนุกสนาน
กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ หมอลำ ซึ่งแบ่งได้ 5 ชนิด คือ หมอลำพื้น หมอลำกลอน หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน หมอลำผีฟ้า
กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ กันตรึม เจรียง เพลงโคราช
เนื่อง ภาคอีสาน เป็นภาคที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน ดนตรีพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน และศิลปะการฟ้อนรำ ดังนั้นทางกระปุกดอทคอม จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาคอีสานมาฝากค่ะ

สำหรับเพลงพื้นบ้านของภาคอีสานนั้น จะมีท่วงทำนองแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ โดยจะแบ่งเป็นพื้นที่ใหญ่ ๆ ได้แก่ อีสานเหนือ และอีสานใต้ ซึ่งเพลงพื้นบ้านของภาคอีสาน มักสอดแทรกแง่คิด เกี่ยวกับวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ไว้อย่างชัดเจน และสามารถแบ่งประเภทของเพลงพื้นบ้าน ได้ดังนี้
1. เพลงพิธีกรรม
ตัวอย่างเพลงพิธีกรรมของกลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ การลำพระเวส หรือการเทศน์มหาชาติ การแหล่ต่าง ๆ การลำผีฟ้ารักษาคนป่วย การสวดสรภัญญะ และการบายศรีสู่ขวัญในโอกาสต่าง ๆ ฯลฯ
ส่วน ตัวอย่างเพลงพิธีกรรมของกลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ เรือมมม็วต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า "เรือมมม็วต" จะช่วยให้คนที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยมีอาการทุเลาลงได้ ผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน แต่จะต้องมีหัวหน้าหรือครูมม็วตอาวุโสทำหน้าที่เป็นผู้นำพิธีต่าง ๆ และเป็นผู้รำดาบไล่ฟันผีหรือเสนียดจัญไรทั้งปวง

กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ หมอลำ ซึ่งแบ่งได้ 5 ชนิด คือ หมอลำพื้น หมอลำกลอน หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน หมอลำผีฟ้า
กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ กันตรึม เจรียง เพลงโคราช
ทั้ง นี้ ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ของภาคอีสานมักนิยมประดิษฐ์การฟ้อนรำขึ้นมาใหม่
ทำให้มีผู้แบ่งศิลปะการฟ้อนทั้งชุดเก่า และชุดใหม่ที่ปรากฏอยู่ในภาคอีสานออกเป็น 8
กลุ่มใหญ่ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะออกมาในรูปของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่
1. การฟ้อนเลียนกิริยาอาการของสัตว์ เช่น กระโนบติงต๊อง แมงตับเต่า และกบกินเดือน ฯลฯ
2. การฟ้อนชุดโบราณคดี เช่น
ระบำบ้านเชียง รำศรีโคตรบูรณ์ ระบำพนมรุ้ง และระบำจัมปาศรี
3. การฟ้อนประกอบทำนองลำนำ เช่น
ฟ้อนคอนสวรรค์ รำตังหวาย เซิ้งสาละวัน และเซิ้งมหาชัย
4. การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าภูไท 3
เผ่า คือ เผ่าไทภูพาน เผ่าไทยบุรีรัมย์ และเผ่าไทยโคราช
5. การฟ้อนด้วยเรื่องราวจากวรรณกรรม
เช่น มโนห์ราเล่นน้ำ
6. การฟ้อนเซ่นสรวงบูชา เช่น
ฟ้อนภูไท แสกเต้นสาก โส้ทั่งบั้ง เซิ้งผีหมอ ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนไทดำ เรือมปัลโจล
ฟ้อนแถบลาน รำบายศรี เรือมมม็วต เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งนางด้ง รำดึงครกดึงสาก
และเซิ้งเซียงข้อง
7. การฟ้อนศิลปาชีพ เช่น
รำตำหูกผูกขิก ฟ้อนทอเสื่อบ้านแพง เรือมกลอเตียล (ระบำเสื่อ)
เซิ้งสาวย้อตำสาด รำปั้นหม้อ รำเข็นฝาย เซิ้งสาวไหม รำแพรวา เซิ้งข้าวปุ้น
รำบ้านประโคก เซิ้งปลาจ่อม เซิ้งแหย่ไข่มดแดง และเรือมศรีผไทสมันต์ ฯลฯ
8. การฟ้อนเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง
เช่น เซิ้งแคน ฟ้อนชุดเล่นสาว เป่าแคน รำโปงลาง ฟ้อนกลองตุ้ม เซิ้งกะโป๋ เซิ้งทำนา
เซิ้งสวิง เซิ้งกะหยัง รำโก๋ยมือ รำกลองยาวอีสาน ระบำโคราชประยุกต์ เรือมอันเดร
เรือมซันตรูจน์ เรือมตลอก (ระบำกะลา) และเรือมจับกรับ ฯลฯ
เครื่องดนตรี
เนื่องจากภาคอีสาน เป็นแหล่งรวมวัฒนธรรม ทั้งเพลงพื้นบ้าน และการฟ้อนรำ ดังนั้นชาวอีสานจึงให้ความสำคัญกับเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงท่วงทำนอง ต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้น เครื่องดนตรีของชาวอีสาน จึงมีครบทุกประเภท ทั้ง ดีด สี ตี เป่า อาทิ
จะเข้กระบือ :
เครื่องดนตรีสำคัญที่ใช้ในวงมโหรีเขมร เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดในแนวนอน มี 3
สาย
กระจับปี่ :
เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด โดยใช้กระที่ทำจากเขาสัตว์ กล่องเสียงทำ ด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก
พิณ :
เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงด้วยการดีด มี 2-3 สาย
แต่ขึ้นเป็นสองคู่ โดยขึ้นคู่ 5
ซอกันตรึม : เป็นเครื่องสายใช้สี
ทำด้วยไม้ กล่องเสียงขึงด้วยหนังงู มีช่องเสียงอยู่ด้านตรงข้ามหน้าซอ
โปงลาง : เป็นเครื่องดนตรีประเภทที่บรรเลงทำนองด้วยการตี
โดยใช้บรรเลงร่วมกันกับแคน
กลองกันตรึม :
เป็นเครื่องหนังชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดกลวง ขึงหน้าด้านหนึ่ง ด้วยหนังดึง
ให้ตึงด้วยเชือก
หืน :
เป็นเครื่องดนตรีกึ่งดีดกึ่งเป่าอย่างหนึ่งมีทั้งที่ทำด้วยไม้ไผ่ และโลหะ โดยมีการเซาะร่องตรงกลางเป็นลิ้นในตัว
แคน :
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า ซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดของชาวภาคอีสานเหนือ
โหวด :
เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เป่าผ่านไม้รวก
ปี่ไสล : ใช้บรรเลงในวงกันตรึม เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่
เช่นเดียวกับปี่ในที่มีลักษณะเป็นปี่ท่อนเดียว และมีลิ้นในตัว
กรับคู่ :
เป็นกรับทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเหมือนกับกรับเสภาของภาคกลาง
นิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้านของภาคอีสาน ต่างมีรูปแบบทั้งนิทานขนาดสั้น และนิทานขนาดยาว โดยบางเรื่องอาจหยิบยกเรื่องใกล้ตัวมาเล่า ขณะที่บ้างเรื่องเป็นนิทานที่สอดแทรกจินตนาการ โดยเฉพาะเรื่องอภินิหารต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะให้ประโยชน์ด้านความบันเทิงแล้ว นิทานพื้นบ้านของภาคอีสานมักสอดแทรกคติธรรม คำสอน เพื่อให้ผู้ฟังได้ตระหนักถึงการใช้ชีวิตให้มากขึ้น
ทั้ง นี้ นิทานพื้นบ้านของภาคอีสานที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย อาทิ แก้วหน้าม้า อุทัยเทวี นางสิบสอง ปลาบู่ทอง กล่องข้าวน้อยฆ่าแม่ นางผมหอม ผาแดงนางไอ่ ทุ่งกุลาร้องไห้ ขูลูนางอั้ว ฯลฯ
การละเล่นพื้นเมือง
เนื่องจากภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้ง เพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก ดังนั้นจึงสามารถหาความบันเทิงได้ทุกโอกาส โดยจะมีทั้งการร้องเพลง และฟ้อนรำ ทั้งนี้ การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล และลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลา และจังหวะในการก้าวเท้า ที่มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวลกว่า และมักเดินด้วยปลายเท้า โดยจะสบัดเท้าไปข้างหลังสูง
ซึ่ง ตัวอย่างเพลงพื้นเมือง ที่มักนิยมขับรองกัน ได้แก่ หมอลำ เพลงโคราช เจรียง กันตรึม เพลงล่องโขง เพลงแอ่วแคน ขณะที่ การฟ้อนรำ ได้แก่ แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งโปงลาง เซิ้งตังหวาย เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฟ้อนภูไท เป็นต้น
ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนา หรือว่างจากงานประจำอื่น ๆ ดังนั้นใต้ถุนบ้านของชาวอีสานในอดีตจะมีการกางหูกทอผ้ากันไว้แทบทุกครัว เรือน โดยผู้หญิงในวัยต่าง ๆ จะสืบทอดการทอผ้าตั้งแต่เด็ก โดยผ้าทอมือเหล่านี้ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย และผ้าไหม และจะถูกนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนของฝ่ายหญิง รวมถึงเป็นการผ้าที่ทอไว้สำหรับฝ่ายชายด้วยผ้าทอของภาคอีสาน สามารถจำแนกออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน
โดยผ้าทอชนิดนี้จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสี
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น
ใช้ในงานบุญประเพณีต่าง ๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ดังนั้นผ้าทอจึงมักมีลวดลายสวยงาม
และมีสีสันหลากหลาย
ทั้งนี้ จะมีประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาว ๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่าง พิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน
เนื่อง จากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม เช่น กลุ่มอีสานใต้ คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีสีสันแตกต่างจากกลุ่มไทยลาว
อย่าง ไรก็ตาม รูปแบบการแต่งกายของชาวอีสานทั่ว ๆ ไป คือ ผู้ชาย มักนิยมสวมเสื้อ ม่อฮ่อม ซึ่งเป็นเสื้อแขนสั้นสีเข้ม ๆ สวมกางเกงสีเดียวกับเสื้อจรดเข่า นิยมใช้ผ้าคาดเอวด้วยผ้าขาวม้า ขณะที่ ผู้หญิง มักสวมใส่ผ้าซิ่นแบบทอทั้งตัว สวมเสื้อคอกลม แขนยาว เล่นสีสัน แต่หากเป็นงานพิธีต่าง ๆ อาจมีการห่มผ้าสไบเฉียง สวมเครื่องประดับตามข้อมือ ข้อเท้า และคอ เพิ่มด้วย
1. การฟ้อนเลียนกิริยาอาการของสัตว์ เช่น กระโนบติงต๊อง แมงตับเต่า และกบกินเดือน ฯลฯ







เครื่องดนตรี
เนื่องจากภาคอีสาน เป็นแหล่งรวมวัฒนธรรม ทั้งเพลงพื้นบ้าน และการฟ้อนรำ ดังนั้นชาวอีสานจึงให้ความสำคัญกับเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงท่วงทำนอง ต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้น เครื่องดนตรีของชาวอีสาน จึงมีครบทุกประเภท ทั้ง ดีด สี ตี เป่า อาทิ












นิทานพื้นบ้านของภาคอีสาน ต่างมีรูปแบบทั้งนิทานขนาดสั้น และนิทานขนาดยาว โดยบางเรื่องอาจหยิบยกเรื่องใกล้ตัวมาเล่า ขณะที่บ้างเรื่องเป็นนิทานที่สอดแทรกจินตนาการ โดยเฉพาะเรื่องอภินิหารต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะให้ประโยชน์ด้านความบันเทิงแล้ว นิทานพื้นบ้านของภาคอีสานมักสอดแทรกคติธรรม คำสอน เพื่อให้ผู้ฟังได้ตระหนักถึงการใช้ชีวิตให้มากขึ้น
ทั้ง นี้ นิทานพื้นบ้านของภาคอีสานที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย อาทิ แก้วหน้าม้า อุทัยเทวี นางสิบสอง ปลาบู่ทอง กล่องข้าวน้อยฆ่าแม่ นางผมหอม ผาแดงนางไอ่ ทุ่งกุลาร้องไห้ ขูลูนางอั้ว ฯลฯ

เนื่องจากภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้ง เพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก ดังนั้นจึงสามารถหาความบันเทิงได้ทุกโอกาส โดยจะมีทั้งการร้องเพลง และฟ้อนรำ ทั้งนี้ การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล และลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลา และจังหวะในการก้าวเท้า ที่มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวลกว่า และมักเดินด้วยปลายเท้า โดยจะสบัดเท้าไปข้างหลังสูง
ซึ่ง ตัวอย่างเพลงพื้นเมือง ที่มักนิยมขับรองกัน ได้แก่ หมอลำ เพลงโคราช เจรียง กันตรึม เพลงล่องโขง เพลงแอ่วแคน ขณะที่ การฟ้อนรำ ได้แก่ แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งโปงลาง เซิ้งตังหวาย เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฟ้อนภูไท เป็นต้น
ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนา หรือว่างจากงานประจำอื่น ๆ ดังนั้นใต้ถุนบ้านของชาวอีสานในอดีตจะมีการกางหูกทอผ้ากันไว้แทบทุกครัว เรือน โดยผู้หญิงในวัยต่าง ๆ จะสืบทอดการทอผ้าตั้งแต่เด็ก โดยผ้าทอมือเหล่านี้ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย และผ้าไหม และจะถูกนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนของฝ่ายหญิง รวมถึงเป็นการผ้าที่ทอไว้สำหรับฝ่ายชายด้วยผ้าทอของภาคอีสาน สามารถจำแนกออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้


ทั้งนี้ จะมีประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาว ๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่าง พิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน
เนื่อง จากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม เช่น กลุ่มอีสานใต้ คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีสีสันแตกต่างจากกลุ่มไทยลาว
อย่าง ไรก็ตาม รูปแบบการแต่งกายของชาวอีสานทั่ว ๆ ไป คือ ผู้ชาย มักนิยมสวมเสื้อ ม่อฮ่อม ซึ่งเป็นเสื้อแขนสั้นสีเข้ม ๆ สวมกางเกงสีเดียวกับเสื้อจรดเข่า นิยมใช้ผ้าคาดเอวด้วยผ้าขาวม้า ขณะที่ ผู้หญิง มักสวมใส่ผ้าซิ่นแบบทอทั้งตัว สวมเสื้อคอกลม แขนยาว เล่นสีสัน แต่หากเป็นงานพิธีต่าง ๆ อาจมีการห่มผ้าสไบเฉียง สวมเครื่องประดับตามข้อมือ ข้อเท้า และคอ เพิ่มด้วย
อาหารอีสาน
ในปัจจุบัน อาหารจากภาคอีสาน ถือเป็นอาหารยอดนิยมที่แพร่หลายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ซึ่งเมนูที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี ได้แก่ เมนูส้มตำ โดยเฉพาะส้มตำไทย
ที่สามารถรับประทานได้ทุกที่ ทุกเวลา เนื่องจากส้มตำมีส่วนประกอบหลักคือผัก
และสามารถรับประทานคู่กับ ข้าวเหนียว ข้าวสวย ขนมจีน ได้ตามที่ต้องการ
นอก จากเมนูส้มตำแล้ว อาหารอีสานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ได้แก่ ลาบ ก้อย ข้าวเหนียวไก่ย่าง ปลาร้าหลน ข้าวจี่ ผัดหมี่โคราช แกงอ่อม แกงผักหวานไข่มดแดง เป็นต้น
จาก ข้อมูลเบื้องต้นที่ได้นำเสนอไปนี้ อาจเป็นเพียงการทำความรู้จักกับภาคอีสานในแบบภาพรวมเท่านั้น เพราะแท้จริงแล้ว ศิลปะ และวัฒนธรรมของภาคอีสานยังมีความสลับซับซ้อน และน่าค้นหาอีกมาก อย่างไรก็ตาม หากมีโอกาสก็อย่าลืมไปเยือนอีสานถิ่นไทย เพื่อลองไปเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายจากสถานที่จริงกัน
นอก จากเมนูส้มตำแล้ว อาหารอีสานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ได้แก่ ลาบ ก้อย ข้าวเหนียวไก่ย่าง ปลาร้าหลน ข้าวจี่ ผัดหมี่โคราช แกงอ่อม แกงผักหวานไข่มดแดง เป็นต้น
จาก ข้อมูลเบื้องต้นที่ได้นำเสนอไปนี้ อาจเป็นเพียงการทำความรู้จักกับภาคอีสานในแบบภาพรวมเท่านั้น เพราะแท้จริงแล้ว ศิลปะ และวัฒนธรรมของภาคอีสานยังมีความสลับซับซ้อน และน่าค้นหาอีกมาก อย่างไรก็ตาม หากมีโอกาสก็อย่าลืมไปเยือนอีสานถิ่นไทย เพื่อลองไปเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายจากสถานที่จริงกัน
บทที่
3
วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องประเพณีภาคอีสาน
ผู้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการดังขั้นตอนต่อไปนี้
1. กำหนดขอบเขตในการศึกษาค้นคว้า
ผู้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าได้กำหนดขอบเขตดังนี้
1.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา
ได้แก่
- ประวัติของประเพณีภาคอีสาน
- ประโยชน์ของประเพณีภาคอีสาน
- การเผยแพร่ประเพณีภาคอีสาน
- การอนุรักษ์ประเพณีภาคอีสาน
1.2 ขอบเขตด้านประชากร
ได้แก่
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 มีนักเรียน 40 คน
1.3 ขอบเขตด้านเวลา
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
2.
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้เรื่องประเพณีภาคอีสาน
เป็นรายงานเผื่อเผยแพร่ให้กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้กำหนดไว้
3. นำรายงานที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้ไปให้ครูที่ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหาและโครงสร้าง
หลังจากนั้นนำเอาข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขแล้วพิมพ์ให้เป็นฉบับจริงก่อนการเผยแพร่
4.
ออกแบบสำรวจความคิดเห็นเรื่องประเพณีภาคอีสาน โดยออกแบบเป็นแบบประเมินค่าเป็น
เห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย
แล้วนำแบบสำรวจไปให้ปรึกษาสำรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหาและโครงสร้าง
หลังจากนั้นนำเอาข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขพิมพ์เป็นฉบับจริงแล้วนำไปสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่ม
5. สรุปผลการสำรวจความคิดเห็น
บทที่
4
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องประเพณีภาคอีสาน
ผู้ศึกษาค้นคว้าได้กำหนดวัตถุประสงค์และสมมุติฐาน ไว้ดังนี้
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาประเพณีภาคอีสาน
2.เพื่อศึกษาประโยชน์ของประเพณีภาคอีสาน
3.เพื่อเผยแพร่ประเพณีภาคอีสาน
4.เพื่อการอนุรักษ์ประเพณีภาคอีสาน
สมมุติฐาน
ประเพณีภาคอีสานมีคุณค่าจริง
สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1.ประวัติของประเพณีภาคอีสานมีดังนี้
1.1 จารีตประเพณี
1.2 ขนบธรรมเนียม
1.3 ธรรมเนียมประเพณี
2.จากการศึกษาเรื่องประเพณีภาคอีสาน
เป็นสิ่งที่แสดงความเป็นตัวตนของความเป็นประเทศไทย ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งหลากหลายประเทศทั่วโลกมักจะมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองโดยเฉพาะ
พวกวัฒนธรรมแปลกๆ หรือตำนานต่าง ๆ ที่เป็นการบอกเล่าบอกกล่าวถึงเรื่องพื้นบ้าน
ท้องถิ่นของตัวเอง ประเทศไทย เป็นประเทศที่เปิดเสรีในการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก คนทั่วโลกสามารถมาเที่ยวประเทศไทยได้ทั่วทุกภาค
และสามารถสัมผัสกับประเพณีไทยท้องถิ่น หรือประเพณีไทยที่ทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดี
3.การเผยแพร่ประเพณีภาคอีสาน
3.1
รู้เกี่ยวกับความเป็นมา
3.2
การดำเนินการของสภาที่ปรึกษา
3.3
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอนุรักษ์ เผยแพร่และใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรม
3.4 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการอนุรักษ์ เผยแพร่และใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรม
4. การอนุรักษ์ประเพณีภาคอีสาน
มีดังนี้
4.1มีขนบธรรมเนียม
4.2 ประเพณี
5. จากการสอบถามความคิดเห็นเรื่องประเพณีภาคอีสาน
จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 มีนักเรียน
40 คน สรุปได้
ดังนี้
สรุปแบบตารางสอบเรื่อง
ประเพณีภาคอีสาน
ข้อที่
|
หัวข้อที่สอบถาม
|
ระดับความคิดเห็น
|
|
เห็นด้วย
|
ไม่เห็นด้วย
|
||
1
|
ประเพณีภาคอีสานดีที่สุด
|
37
|
3
|
2
|
ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมของประเพณีภาคอีสาน
|
22
|
18
|
3
|
ประโยชน์ของประเพณีภาคอีสาน
|
25
|
15
|
4
|
การเผยแพร่ประเพณีภาคอีสาน
|
30
|
10
|
5
|
การอนุรักษ์ประเพณีภาคอีสาน
|
20
|
20
|
บทที่
5
อภิปรายผลและเสนอแนะ
จากการค้นคว้าเรื่อง ประเพณีภาคอีสาน มีดีและสามารถทำให้ทุกคนสนุกสนานได้
ประเพณีภาคอีสานจึงเหมาะแก่การอนุรักษ์ไว้เพราะมีคุณค่าจริง ดังนั้น ประเพณีภาคอีสานมีคุณค่าจริง
เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากว่า
1. ประเพณีภาคอีสานเป็นภาคที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น
ของอาหารการกิน ดนตรีพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน และศิลปะการฟ้อนรำจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาคอีสาน
2. มีงานวิจัยที่อ้างอิงและเป็นที่เชื้อถือได้
ข้อเสนอแนะในการศึกษาและค้นคว้าครั้งในต่อไป
1.
มีการเผยแพร่ความรู้เรื่องประเพณีภาคอีสาน ให้กับกลุ่มคนที่มีความสนใจที่จะศึกษา
2. ควรใช้รุปแบบที่หลากหลายในการเผยแพร่
เช่น การจัดนิทรรศการในโรงเรียน ชุมชน
การสร้างเว็บเพจเรื่องประเพณีภาคอีสานในอินเทอร์เน็ตและเฟสบุ๊ค
เป็นต้น
3.
รณรงค์ให้ผู้คนหันมาใส่ใจ ประเพณีอันดีงาม
บรรณานุกรม
www.heedisarn.com/
www.ryt9.com/s/ryt9/158...
บุญเดือนหก
ไหลเรือไฟ
สงกรานต์
แห่เทียนพรรษา
การแต่งกายประจำภาค
ส้มตำ
อาหารประจำภาค
ผ้าไหม
ผ้าขาวม้า
ข้าวเหนียวไก่ย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น